ชื่อบทความ : การทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อใช้เองในครัวเรือน
ชื่อหมู่บ้าน : บ้านแสลงโทน ต.แสลงโทน  อ.ประโคนชัย  จ.บุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นายอัครพล กันรัมย์


เศษอาหารเป็นขยะหรือของเสียจากครัวเรือนและสถานประกอบการ ที่คนส่วนใหญ่ละเลย
ถึงคุณค่าไม่มีใครเหลียวแล และอยากที่จะทิ้งไปให้ไกล ๆ ตัวโดยเร็ว เพราะเพียงแค่ทิ้งไว้ข้ามคืน
มันก็จะส่งกลิ่นเหม็นรัญจวนใจได้ที่ทีเดียว การทิ้งเศษอาหารลงในถังขยะรวมกับขยะประเภทอื่น ๆ
ที่พอจะนํากลับไปรีไซเคิลได้ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว หรือโลหะ จะเป็นการเร่งให้ภาวะโลก
ร้อนเป็นไปอย่างรุนแรงและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะแทนที่เราจะนําขยะดังกล่าวกลับมารีไซเคิล
ได้ง่าย ๆ กลับต้องใช้แรงงาน เวลา พลังงาน และทรัพยากร ในการจัดการมากขึ้น และเจ้าขยะเศษ
อาหารก็บูดเน่าเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ อีกทั้งเร่งให้จุลินทรีย์กลุ่มเป็นโทษทําลายสิ่งแวดล้อม
มากขึ้น เกิดกลิ่นเหม็น แมลงวัน แมลงหวี่และหนูมากขึ้น เกิดภาวะน้ําเน่าเสีย เราน่าจะช่วยกัน
นําเศษอาหารมาทําน้ําหมักชีวภาพสําหรับใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันกัน ซึ่งมีวิธีการทําและใช้
อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ดังนี้
ประโยชน์ของน้้าหมักชีวภาพ
1) ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช
2) ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชได้บางส่วน
3) ช่วยเร่งการย่อยสลายเศษพืช ซากสัตว์ต่างๆให้เป็นปุ๋ยเร็วขึ้น
4) ช่วยปรับสภาพน้ําเสียให้ดีขึ้น
5) ช่วยแก้ปัญหากลิ่นเหม็นจากคอกปศุสัตว์ให้น้อยลง

วิธีการท้าน้้าหมักชีวภาพอย่างง่าย
1) นําเศษพืช สัตว์ ผัก ผลไม้ หญ้า เศษอาหารที่ยังสดอยู่มาสับเป็นชิ้นเล็กพอควร ยิ่งละเอียดยิ่งดี ชั่ง
เศษพืชสัตว์ให้ได้น้ําหนักสมมติว่า 3 กิโลกรัม (ใช้มากหรือน้อยตามอัตราส่วน)
2) หมักในโอ่ง ไห ถังพลาสติก ห้ามใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ(เพราะน้ําหมักชีวภาพมีสภาพเป็นกรดสูง จะ
กัดโลหะผุกร่อนเร็ว)
3) ในกรณีนี้ ให้ใส่น้ําตาลทรายแดง(ที่ยังไม่ฟอก) หรือ น้ําตาลทรายขาว หรือ กากน้ําตาล หนัก 1
กิโลกรัมลงไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
ถ้าส่วนใหญ่เป็นเศษพืช ใช้เศษพืช ต่อ น้ําตาล = 3 ต่อ 1)
ถ้าส่วนใหญ่เป็นเศษสัตว์ ใช้เศษสัตว์ ต่อ น้ําตาล = 1 ต่อ 1)
4) ปิดฝาโอ่ง ไห ถังพลาสติกให้สนิท อย่าให้อากาศเข้า และควรเก็บไว้ในที่ร่ม ใช้ปากกาเขียนวันเดือน
ปีที่หมักไว้
5) หลังจากหมักไว้ 15 วัน ให้เปิดฝาออก เติมน้ําลงไป 10 ลิตรหรือ 10 กิโลกรัม ใช้ไม้คนให้ทั่ว ปิด
ฝาให้สนิทไว้ดังเดิม หลังจากนั้นอีกประมาณ 5 วัน จึงเปิดฝา แล้วใช้ไม้คนให้ทั่วและปิดฝาไว้เหมือนเดิม
6) น้ําหมักชีวภาพนี้ สามารถเริ่มใช้ได้หลังจากหมัก 5 วัน ถ้าจะให้ได้ผลดีควรหมักไว้นาน 30 วัน
และจะได้ผลดีเพิ่มมากขึ้น เมื่อหมักไว้นาน 3 เดือนหรือมากกว่า ซึ่งจะทําให้น้ําหมักชีวภาพมีประสิทธิภาพ
เพิ่มขึ้นด้วย

วิธีการใช้
1) ถ้าใช้พ่นพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์
ใช้น้ําหมักชีวภาพ ผสมกับน้ําในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ํา 500 – 1000 ส่วน หรือใช้น้ําหมักชีวภาพ 1
ช้อนโต๊ะ(15 มิลลิลิตร) ผสมน้ํา 7 – 10 ลิตร อาจพ่นทุก 7 วัน นอกจากนั้นเราสามารถทดลองใช้พ่นกับ
ต้นไม้ได้โดยตรงเพื่อสังเกตดูว่าใช้อัตรา เท่าไร บ่อยครั้งเพียงใด พืชจึงจะเจริญเติบโตดี โดยสังเกตได้ง่ายๆ คือ
ถ้าใช้น้ําหมักชีวภาพเข้มข้นมากเกินไป จะทําให้พืชชะงักการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม ถ้าต้นไม้พืชผัก ยังไม่
งอกงามเท่าที่ควร หลังจากใช้ไปสักระยะหนึ่ง อาจจะต้องใส่ธาตุอาหารพืชหรือปุ๋ยอื่นๆ เสริมด้วย จึงจะช่วยให้
ผลผลิตสูงขึ้น
2) ถ้าใช้ราดที่โคนต้นพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้นเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ใช้น้ําหมักชีวภาพ ผสมกับน้ําใน
อัตรา 1 ส่วน ต่อน้ํา 500 ส่วน หรือใช้น้ําหมักชีวภาพ 1 ช้อนโต๊ะ(15 มิลลิลิตร) ผสมน้ํา 7 ลิตร ราดที่โคน
พืช ทุก 7 วัน แต่ถ้าต้นไม้ พืช ผัก ยังไม่งอกงามเท่าที่ควร จะต้องใส่ธาตุอาหารพืชหรือปุ๋ยอื่นๆ เสริมด้วย จึง
จะช่วยให้ผลผลิตสูงขึ้น
3) การทําปุ๋ยหมักกองเตี้ยจากเศษวัชพืช ใบไม้ กิ่งไม้เล็ก เศษอาหาร
3.1 ผสมเศษวัชพืช ใบไม้ กิ่งไม้เล็ก เศษอาหารเข้าด้วยกัน ทําเป็นกองเตี้ยสูงไม่เกิน 30
เซนติเมตร
3.2 ใช้น้ําหมักชีวภาพ 2 ช้อนโต๊ะ(30 มิลลิลิตร) น้ําตาลทรายแดง หรือน้ําตาลทรายขาว
หรือ กากน้ําตาล หนัก 30 กรัม(มิลลิลิตร) ผสมน้ํา 2- 3 ลิตร หรือ ในอัตราส่วน น้ําหมักชีวภาพ ต่อ น้ําตาล
ต่อ น้ํา = 1 ต่อ 1 ต่อ 50 – 100 ส่วน
3.3 ราดกองปุ๋ยหมักพวกเศษวัชพืช ใบไม้ใบหญ้าต่างๆ ใช้ผ้าพลาสติกคลุมกองปุ๋ยหมักให้
ย่อยสลายไว้นาน 15 – 30 วัน
3.4 จึงนําปุ๋ยหมักใส่ให้กับต้นไม้ต่างๆ โดยผสมกับดิน หรือคลุมบริเวณโคนต้น ทําให้
พืชเจริญเติบโตดีและดินร่วนซุยเพิ่มขึ้น


รูปภาพประกอบกิจกรรม


แหล่งอ้างอิง https://www.bandonglocal.go.th/customers/content/download/content-359.pdf


วีดีโอประจำตำบล

อื่นๆ

เมนู