ชื่อบทความ: ปุ๋ยหมักแห้งอินทรีย์ชีวภาพบ้านแสลง
พื้นที่: บ้านแสลงโทน ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย
ชื่อเจ้าของบทความ: นางสาวจุลีพร อัมรารัมย์


เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กลุ่มเกษตรกร ที่นาแปลงใหญ่ นายดวน เกษาโร บ้านแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้ให้เกียรติเป็นวิทยากรสอนวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพให้แก่ชาวบ้านแสลงโทนและทีมงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการโดยมีส่วนผสมและวิธีการดังนี้
ส่วนผสมของวัสดุ
ในการกองปุ๋ยหมัก 1 ตัน ประกอบด้วย
เศษพืชแห้ง           1,000 กิโลกรัม
มูลสัตว์                     200 กิโลกรัม
ปุ๋ยไนโตรเจน                2 กิโลกรัม
(หรือน้ำหมักชีวภาพที่ผลิตจากปลา 9 ลิตร)
สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ซอง (100 กรัม)
วิธีการกองปุ้ยหมัก
กองปุ๋ยหมัก 1 ตัน มีความกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 1.5 เมตร การกองมี 2 วิธี วัสดุที่มีขนาดเล็ก คลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากันแล้วกองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า วัสดุที่มี ชิ้นส่วนยาวให้กองเป็นชั้นๆ 3-4 ชั้น แบ่งส่วนผสมที่จะกองออกเป็น 3-4 ส่วนตามจำนวนชั้นที่กอง ดังนี้
-ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ในน้ำ 20 ลิตร คนนาน 5-10 นาที เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์ออกจากสภาพที่เป็นสปอร์และพร้อมที่จะเกิดกิจกรรมการย่อยสลาย
-การกองชั้นแรกนำวัสดุที่แบ่งไว้ส่วนที่หนึ่ง มากองเป็นชั้น มีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 3 เมตร สูง 30-40 เชนติเมตร ย่ำให้พอแน่นและรดน้ำให้ชุ่ม
-น้ำมูลสัตว์โรยที่ผิวหน้าเศษพืช
-โรยปุ๋ยไนโตรเจนทับบนชั้นของมูลสัตว์ หรือรดด้วยน้ำหมักชีวภาพจากปลา
– ราดสารละลายสารเร่งให้ทั่วโดยแบ่งใส่เป็นชั้นๆ
– หลังจากนั้นนำเศษพืชมากองทับเพื่อทำชั้นต่อไป ปฏิบัติเหมือนการกองชั้นแรก ทำเช่นนี้อีก 2-3 ชั้น ชั้นบนสุดของกองปุ๋ยปิดทับด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่ เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น
ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
1. ปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพดิน ให้ดินร่วนซุย การระบายอากาศ และการอุ้มน้ำของดินดีขึ้น
2. เป็นแหล่งธาตุอาหารพืช ทั้งธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุ
3. ดูดยึดและเป็นแหล่งเก็บธาตุอาหารในดินไม่ให้ถูกชะล้างสูญเสียไปได้ง่าย และปลดปล่อยออกมาให้พืขใช้ประโยชน์ทีละน้อยตามฤดูปลูก
4. เพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
5. เพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน


ภาพประกอบกิจกรรม


วีดีโอประจำตำบล

อื่นๆ

เมนู