ชื่อบทความ : เทคนิคการใช้แก่นฝางในการใส่สีธรรมชาติเส้นกก
พื้นที่ : ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวพลอยไพลิน ปลัดศรีช่วย

เทคนิคการใช้แก่นฝางในการใส่สีธรรมชาติเส้นกก

          เดือนสิงหาคม ทีมงานตำบลแสลงโทน ได้ดำเนินการจัดอบรมมาถึง เรื่องของเสื่อกก ซึ่งเรื่องของเสื่อกก มีความสำคัญมากที่จะพัฒนาให้ชาวตำบลแสลงโทน เพราะเป็นอาชีพ ที่เก่าแก่และสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ทางทีม 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ตำบลแสลงโทน จึงเห็นความสำคัญของการที่จะพัฒนาลายของเสื่อกก ให้มีความสร้างสรรค์ และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนของตำบลแสลงโทน ให้แปลกตา ให้คนที่เห็นเสื่อกกชนิดนั้น ทราบทันทีว่ามาจาก ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยเอกลักษณ์ของตำบลแสลงโทนมีมากมาย อาทิเช่น ต้นแสลงโทน ศาลตาปู่ หลักกิโลโบราณ เป็นต้น ทีมงานจึงจัดกิจกรรรมอบรมการพัฒนาลายเสื่อกก เพื่อการที่ใช้เอกลักษณ์เฉพาะตนชาวแสลงโทน จะได้เพิ่มรายได้ต่อไป

          เมื่อกล่าวถึงการพัฒนาลายเสือกก เป็นงานที่ต้องใช้สมาธิมาก และจินตนาการทีจะทำให้ ลายที่คิดค้นพัฒนานั้น เห็นครั้งแรกแล้วสวยสดุดตา ให้รู้ว่าเสื่อกกผืนนั้นมาจากแสลงโทน ที่จะขาดไมได้เลยคือการย้อมสีกก การย้อมสีกกนั้น มี อยู่ 2 ชนิด คือการย้อมสีกกธรรมชาติ และการย้อมสีกกสารเคมี ซึ่งทั้ง 2 อย่างชนิดนั้นแตกต่างกันมา ซึ่งจะยกตัวอย่างดังนี้ ย้อมสีกกธรรมชาติ ใช้เวลานาน แต่การเกิดอันตรายค่อนข้างน้อย ส่วนสีสารเคมี ซึ่งมีความเสี่ยงมากในการย้อม เพราะใช้สารผสมเคมี ที่ค่อนข้างแรง การสูดดมเข้าไป ซึ่งจะหลีกเลี่ยงได้ยากมาก จึงโยงไปถึงเรื่องการซื้อขาย เสื่อกกธรรมชาติ และเสื่อกกสารเคมี เพราะการขายในเวลาเสื่อกกวางตลาดขายนั้น แน่นอน เสื่อกกธรรมชาติจึงมีราคาแพงกว่า เสื่อกกสารเคมี เพราะเสื่อกกธรรมชาติใช้เวลานานมาก ไม่เหมือนสีสารเคมีเพราะมีสำเร็จรูปอยู่แล้วจึงใช้เวลาไม่ค่อยนาน มาถึงเรื่องเปรียบสีที่สวยกว่ากัน แน่นอนสีธรรมชาติ ย่อมสวยกว่า สารเคมี โดยที่กล่าวมาข้างต้นเป็น ความรู้สึกของผู้เขียนบทความเอง ซึ่งผู้อ่านบทความจะใช้วิจารณญาณในการอ่านก็ได้ และขอขอบคุณผู้ที่เข้ามาอ่านบทความที่ผู้เขียนบทความตั้งใจจะให้ความรู้ และขอกล่าวถึง แก่นฝางให้สีส้มแดง ฝักของฝางให้สีน้ำตาลออกกะปิ แต่ให้สีไม่ดีนัก ถ้าต้องการสีแดงต้องใช้ปริมาณมาก
          เทคนิควิธีการย้อมสี: การย้อมสีเส้นใยด้วยฝาง ส่วนที่ใช้คือ แก่นต้น โดยใช้วิธีการต้มเพื่อสกัดสี ในอัตราส่วนต่อน้ำ 1:10 แก่นฝาง 3 กิโลกรัม ย้อมเส้นใยได้ 1 กิโลกรัม ย้อมด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน โดยใช้น้ำใบเหมือดแอ 1 ส่วน ผสมกับสีจากฝาง 2 ส่วน ย้อมนาน 1 ชั่วโมง หลังย้อมนำเส้นใยมาแช่ในสารละลายช่วยติดสี นั่นคือ สารส้ม จะได้เส้นใยสีส้มแดง คุณภาพของสีมีความคงทนต่อการซักและแสงในระดับต่ำ การย้อมเส้นใยจากน้ำสีของฝางเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้น้ำใบเหมือดแอจะได้เส้นใยสีส้มอ่อน มีคุณภาพของสีคงทนต่อการซักและแสงในระดับปานกลาง สำหรับการย้อมเส้นใยด้วยสีที่สกัดจากผลฝางหรือฝักฝาง จะสกัดสีด้วยวิธีการต้มกับน้ำในอัตราส่วน 1:2 นาน 1 ชั่วโมง กรองใช้เฉพาะน้ำสี ฝักฝาง 15 กิโลกรัม สามารถย้อมสีเส้นใยได้ 1 กิโลกรัม ย้อมเส้นใยด้วยกรรมวิธีย้อมร้อน หลังย้อมแช่สารละลายสารช่วยติดสีจุนสี จะได้เส้นใยสีน้ำตาล (http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/tint/?page_id=85)

รูปภาพกิจกรรมการย้อมสีกกด้วยธรรมชาติ

 

 

 

วีดีโอประจำตำบล

อื่นๆ

เมนู