ชื่อบทความ : ID01 -บริบทหมู่บ้าน หมู่2 ตำบลแสลงโทน อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
ชื่อหมู่บ้าน : บ้านแสลงโทน หมู่ 2
ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวนิชาภัทร ล้อประโคน
ประเภท : นักศึกษา
ข้อมูลทั่วไป (บริบทชุมชน)
การประกอบอาชีพ วิถีชีวิตของชาวบ้านและปัญหาที่พบในหมู่บ้านโคกใหญ่ หมู่ 2 ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพิ่มเติมหมู่บ้านแสลงโทน หมู่ 2 ในวันที่ 15 มีนาคม 2564 โดยส่วนใหญ่แล้วพบว่าชาวบ้านจะทำอาชีพหลักเป็น เกษตรกร ค้าขาย และเลี้ยงสัตว์ เช่น ทำนา เลี้ยงสุกร เลี้ยงวัว บางครัวเรือนจะประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคและจำหน่าย ในส่วนของชีวิตประจำวันนั้น แต่ละครัวเรือนจะมีการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนมากในช่วงเช้ามืดจนถึงช่วงสายบางครัวเรือนจะออกไปเก็บหญ้านางนวน และดูไร่นาของตน บางครัวเรือนที่ทำอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เลี้ยงสุกร ในช่วงสายจะนำสัตว์เลี้ยง ไปปล่อยไว้ตามสวนและทุ่งนาของตนเอง เหตุที่ต้องออกจากบ้านในช่วงเช้ามืดเพราะได้นำสัตว์เลี้ยงของตนไปไว้ที่ทุ่งนา บางครั้งมีการค้างแรมที่ทุ่งนา หลังจากนั้นชาวบ้านจะทำภารกิจประจำวันของตนเองและจะมีการนำสัตว์เลี้ยงของนเองเช้าคอกในช่วงเย็น และมีบางส่วนที่ว่างงาน ทำให้ไม่มีรายได้ในช่วงนี้ กล่าวถึงรายได้ของคนในชุมชนนั้นมาจากอาชีพหลัก เช่น การทำการเกษตร รายได้เฉลี่ยแต่ละครัวเรือนนั้น อยู่ที่น้อยกว่า 5,000 บาท ต่อเดือน/ครัวเรือน ในการทำการเกษตร มีการลงทุนจำนวนมาก ทั้งค่าปุ๋ย ค่ายา สารเคมี ค่าจ้างแรงงาน ค่าจ้างรถไถ และค่ารถเกี่ยวข้าวในฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง ทำให้เงินทุนในส่วนของตนเองนั้นไม่เพียงพอ จึงเกิดการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินนที่ให้บริการต่างๆ ทั้งในระบบและนอกระบบ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตร(ธกส) ส่งผลให้คนในชุมชนมีหนี้สินเป็นจำนวนมาก ในด้านแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของชุมชน เช่น หนอง วัด แหล่งโบราณสถาน
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ผู้คนในหมู่บ้านเคยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในต้นปี 2563 ส่งผลกระทบให้คนในชุมชมได้รับปัญหาตกงาน และขาดรายได้ ในปัจจุบันผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้คนในชุมชนที่เคยประกอบอาชีพในพื้นที่เสี่ยง ได้รับผลกระทบทำให้ผู้ประกอบอาชีพ ว่างงาน ตกงาน และขาดรายได้ จึงย้ายถิ่นฐานกลับบ้านเกิดของตนเอง เพื่อความอยู่รอดของตนเองและครอบครัวส่งผลให้ ณ ตอนนี้ว่างงาน อยู่บ้านไม่มีงานทำ อาศัยสวัดิการแห่งรัฐอย่างเดียว ปัญหาที่พบเห็นภายในชุมชนส่วนใหญ่ คือ ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้งและมีหลานที่ต้องดูแลเกิดจากผู้ปกครองไม่มีความพร้อมที่จะเลี้ยงดูบุตรของตนเอง และติดสารเสพติด ถนนบางเส้นต้องการซ่อมบำรุงและขยายเส้นทางออกไปทางทุ่งนา เพราะชุมชนมีการขยายออกไปอยู่นอกหมู่บ้านมากขึ้นเพื่อสะดวกต่อกการทำการเกษตร เนื่องจากภายในหมู่บ้านมีพื้นที่ที่แออัด ไม่เหมาะแก่การสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
ลักษณะเด่นของชุมชนส่วนใหญ่จะร่มรื่นมีต้นไม้ปกคลุมรอบๆชุมชน มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อใช้อุปโภคบริโภค มีการตั้งครัวเรือนข้างลำคลองทำให้มีน้ำพอเยียวยาในการทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งแต่ก็ไม่มากพอจึงมีการเจาะบาดาลขึ้นเพื่อใช้ในการเกษตร ชาวบ้านมีการปลูกผักสวนครัว เลี้ยงปลาไว้บริโภคในครัวเรือน มีการสร้างอาชีพเพื่อที่หลากหลายทั้ง เลี้ยงสุกร ทำข้าวหมากขายตามออเดอร์ที่คนในชุชนสั่ง ทำไม้กวาดทางมะพร้าว เย็บผ้า ค้าขาย ถักไหมพรม ทั้งหมดนี้เกิดจากการว่างจากการทำเกษตร และมีการรักษาแหล่งน้ำเพื่อให้ปลาได้ว่างไข่ในช่วงหน้าฝน
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
จากการได้ลงพื้นที่ในครั้งนี้ทำมีความประทับใจ เวลาลงเก็บข้อมูลแต่ละครัวเรือนนั้น ทุกครัวเรือนมีความเป็นกันเองถามไถ่ว่ามาจากไหน มากับใคร เหนื่อยไหม ดื่มน้ำเย็นๆก่อนแล้วค่อยไปต่อ ก่อให้เกิดความไม่ประมาทและไม่กลัวที่จะเข้าไปถามไถ่ถึงความเป็นอยู่ของคนในครัวเรือน และที่สำคญคือบรรยายกาศรอบทางที่ไปสำรวจไม่ร้อน และมีต้นไม้ หลากมายที่ให้ร่มเงา เห็นถึงมิตรภาพที่คนภายชุมชนมอบให้แก่นักศึกษาในครั้งนี้