ชื่อบทความ: มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและการพิมพ์สีธรรมชาติบนผืนผ้าของชุมชนแสลงโทน
พื้นที่: ตำบลแสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ: นางสาว ธัญธารีย์ ธรรมวัฒน์กิตติ
ในชุมชนตำบลแสลงโทนมีผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านผลิตกันเองหลากหลายรูปแบบ แต่ละกลุ่มยังไม่ได้ใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคม 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย โดยอาจารย์ที่ปรึกษาและทีมงานเล็งเห็นความสำคัญได้นำกลุ่มอาชีพแต่ละกลุ่มอบรมองค์ความรู้เพื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองเพื่อที่จะขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ทำให้ผลิตภัณฑ์มีโอกาสทางการค้ามากขึ้น คุณภาพงานสม่ำเสมอ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
กลุ่มอาชีพ ในชุมชนแสลงโทน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มผ้าทอมือ มีผลิตภัณฑ์ ผ้าทอเป็นผืน ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่
2. กลุ่มแปรรูปจากผ้า มีผลิตภัณฑ์ กระเป๋า เสื้อทิชชู พวงกุญแจ หมอนอิง หมวก เสื้อ กางเกง
3. กลุ่มทอเสือกก มีผลิตภัณฑ์ เสือเป็นผืน
4. กลุ่มจักสาน มีผลิตภัณฑ์ แจกัน ตะกร้า โคมไฟ กล่อง กำไล ฯลฯ
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
คือ ข้อกำหนดด้านคุณภาพที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นที่เชื่อถือเป็นที่ย้อมรับและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดและสอดคล้องกับนโยบายOTOP ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาเอง
ประเภทผลิตภัณฑ์ที่สามารถยื่นขอรับรอง 5 ประการ
1. ประเภทอาหาร
2. ประเภทเครื่องดื่ม
3. ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย
4. ประเภทของใช้ของประดับตกแต่งของที่ระลึก
5. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
ขั้นตอน การขอรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน
1. รับคำขอ
2. ตรวจสถานที่ ผลิตและเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์
3. จัดทำรายงานและส่งตัวอย่างตรวจสอบ
4. หน่วยตรวจสอบ ตรวจสอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์
5. ประเมินผลตรวจสอบและสรุปรายงานผลการตรวจสอบ
6. จัดประชุมคณะกรรมการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์
7. จัดทำใบรับรองและเสนอประธานกรรมการเพื่อลงนาม
8. แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นขอ มผช.ทราบ
สถานที่ติดต่อ รับคำขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ 044 612934
สามารถเดินทางไปขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่อุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์
ขอบคุณ คุณอมรรัตน์ จันทร์ชูวงศ์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม ( สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์)
วิทยากรให้ความรู้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนในครั้งนี้ เป็นประโยชน์กับกลุ่มอาชีพเป็นอย่างมาก
การพิมพ์ผ้าจากธรรมชาติ
ในการอบรมครั้งนี้ มีเพิ่มองค์ความรู้ด้านการพิมพ์ผ้าจากธรรมชาติให้กลุ่มอาชีพตำบลแสลงโทน ได้ปฎิบัติงานจริง ให้ทุกคนเก็บพืชที่มีในชุมชน ใบไม้ต่างๆ เช่น ใบสบู่เลือด ใบสัก ใบสะเดา ใบเพกา ใบยูคา ดอกไม้ ฯลฯ
โดยมีวิทยากรที่เชียวชาญมาถ่ายทอดขั้นตอนการพิมพ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. นำผ้าที่ย้อมต้องเป็นผ้า ฝ้าย หรือผ้าไหม ไปซักให้สะอาด
2. นำไปแช่ในน้ำที่ผสมสารส้ม นานครึ่งชั่วโมง ถึง 1 ชั่วโมง
3. นำใบไม้ที่เลือกไปชุบน้ำสนิมเหล็กประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
4. นำผ้าที่แช่ขึ้นมา แล้วนำใบไม้ที่แช่น้ำสนิมขึ้นมาให้สะบัดน้ำออกให้หมด แล้วนำมาวางบนผ้าจากนั้นนำพลาสติกมา คลุมทับเพื่อกันไม่ให้สีใบไม้ไปเปรอะผ้าส่วนที่ไม่ต้องการ ใช้ไม้หรือทอเล็ก ม้วนผ้าให้แน่น มัดผ้าให้แนบสนิท
5. นำผ้าไปนึ่ง ใช้เวลา 2 ชั่วโมง ทิ้งไว้นาน 2-3 วัน แล้วค่อยแกะผ้าออกมาดู ช่วงขั้นตอนนี้ทุกคนจะลุ้นงานออกมาเป็นแบบไหน ใบไม้แต่ละชนิดสีออกมาแตกต่างกัน
ใบไม้ ที่ให้สีออกมาสวย จากที่ได้ทดสอบงานกัน มีใบสัก ใบเพกา ใบสบู่เลือด ใบยูคา ทุกคนก็จะได้ชิ้นงานเป็นเสื้อยืดที่พิมพ์ลายใบไม้ ที่เป็นผลงานของตัวเอง รูปแบบไม่เหมือนกัน ทุกคนสนุกกับงานอบรมครั้งนี้ สามารถนำความรู้ต่างๆไปใช้ต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองต่อไป ผู้เขียนเองก็สนุกไปกับกิจกรรมครั้งนี้ ขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาและทีมงานที่ดูแลกลุ่มอาชีพตำบลแสลงโทนในกิจกรรมครั้งนี้ เรียบร้อยไปด้วยดี
ภาพกิจกรรมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ภาพกิจกรรมการพิมพ์ผ้าจากธรรมชาติ
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |