ชื่อบทความ : ชุมชนและครัวเรือน ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่ : ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นาย พูนสุข เอี่ยมศิลาภัณฑ์

ข้อมูลบริบทชุมชนตำบล
           ตำบลโคกย่างแยกมาจากตำบลจระเข้มาก เมื่อปี พ.ศ. 2511 ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน และตำบลโคกย่างได้ยกฐานะเป็น อบต. เมื่อปี พ.ศ. 2539 ตำบลโคกย่างอยู่ห่างจากอำเภอประโคนชัย 7 กม. ห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ 50 กิโลเมตร เขตการปกครองมีพื้นที่ประมาณ 44 ตารางกิโลเมตร หรือ  27,500 ไร่  พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ดินร่วนปนทราย และบางที่เป็นดินเหนียว จำนวนประชากรทั้งหมดในตำบลโคกย่างทั้งสิ้น 4,307 คน ชาย 2,095 คน หญิง 2,212 คน จำนวนหลังคาเรือนในเขตพื้นที่ 1,187 หลังคาเรือน ลักษณะบ้านเรือนมีทั้งบ้านที่สร้างจากไม้ และบ้านที่สร้างจากปูนแบบสมัยใหม่

เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลโคกม้า และ ตำบลประทัดบุ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ทิศใต้ ติดกับ ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลประทัดบุ ตำบลจระเข้มาก และ ตำบลเขาพนมรุ้ง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

อาชีพ
อาชีพหลักส่วนใหญ่ ทำนา
อาชีพเสริม รับจ้าง

ภาษาที่ใช้
ส่วนใหญ่ใช้ภาษาเขมรถิ่นไทย และรองลงมาคือภาษาไทย

สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับตำบลโคกย่าง
          จากการลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านโคกเบงแบ่งเป็น 3 คุ้ม คือ คุ้มห้วยสำราญ คุ้มโคกตาสุข และคุ้มโคกเบง ของตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ โดยการใช้แบบสอบถาม 4 แบบฟอร์ม คือ แบบฟอร์ม(01) แบบฟอร์ม(02)แบบฟอร์ม(06) และการสำรวจศักยถาพตำบล 16 เป้าหมายกับผู้นำชุมชนเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อมูลภาคครัวเรือน รวมถึงให้ข้อแนะนำ ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านโคกเบงทั้ง 3 คุ้ม ภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจในตำบลคือ กลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้านางรม โดยกลุ่มนี้จะนำเห็ดนางฟ้านางรม มาสร้างผลิตภัณฑ์ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น เช่น แหนมเห็ด และข้าวเกรียบเห็ด 

     

การทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูรองนั่งหรือนอน หรือทำธุรกรรมต่างๆ

ภาพจากการลงพื้นที่สำรวจ และพบปะชาวบ้านในพื้นที่ท้องถื่น เพื่อรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามทั้ง 4

 

อื่นๆ

เมนู