ชื่อบทความ – ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเห็ด ประจำเดือน กรกฎาคม 2564
ชื่อสถานที่จัดทำ – โรงเรียนโคกย่าง ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผู้จัดทำ – นายชโนดม ชนะประโคน (บัณฑิตจบใหม่)


จุดเริ่มต้น
เนื่องจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มีเป้าหมายในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้เกิดการสร้างรายได้หลายรูปและมากขึ้น เพื่อที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชน ทางผู้ปฏิบัติงาน U2T และอาจารย์ประจำตำบลพร้อมคณะวิทยากรได้เข้าไปให้ความรู้แก่ชุมชนในการแปรรูปอาหาร ซึ่งภายในตำบลโคกย่างนั้นมีแหล่งเพาะเห็ดหลายแห่ง จึงนำเห็ดมาพัฒนาหรือแปรรูปอาหารซึ่งได้แปรรูปออกมาเป็น “ข้าวเกรียบเห็ดโคกย่าง” ณ โรงเรียนบ้านโคกย่าง นัันเอง


กิจกรรมที่ 1 กิจกรมมแปรรูปข้าวเกรียบจากเห็ด
กลุ่มเพาะเห็ดในตำบลโคกย่าง มีความต้องการเรียนรู้เรื่องการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆจากเห็ด ทางมหาวิทยาลัยฯ จึงได้มีการจัดอบรมการทำข้าวเกรียบจากเห็ด โดยมีทีมอาจารย์ภาควิชาคหกรรมศาสตร์มาเป็นวิทยากรสอนทำ สถานที่โรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกย่าง มีผู้เข้าอบรม เช่น กลุ่มเพาะเห็ด คณะครูและทีมงาน ประมาณ 40  คน  โดยมีการใช้วัตถุดิบหลักเช่น เห็ดนางฟ้า /เห็ดนางรม จากกลุ่มเพาะเห็ดบ้านโคกย่าง  โดยแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม วิธีการขั้นตอนตั้งแต่ การหั่น การนึ่งเห็ด การผสมเครื่องปรุง การปั้นแป้งเป็นก้อน การนำไปนึ่ง การหั่นแผ่นบางเพื่อตากแดด การทอด เพื่อบริโภค จนถึงบรรจุถุงเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริม เป็นต้น

รูปภาพ



กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมเพาะเชื้อเห็ด
ตามที่ได้สอบถามกลุ่มเพาะเห็ดในตำบลโคกย่างส่วนใหญ่จะซื้อก้อนเห็ดมาจากผู้ผลิตซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงเพื่อเป็นการลดต้นทุนการทำเห็ด ทางมหาวิทยาลัยฯจึงได้เชิญ ผศ.ดร.อารยา มุสิกา สาขาวิชาเกษตรศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร ม.ราขภัฏบุรีรัมย์ เป็นวิยากรในการอบรมเพาะเชื้อเห็ด  สถานที่โรงอาหารโรงเรียนบ้านโคกย่าง โดยมีกลุ่มผู้เพาะเห็ดและผู้สนใจเข้าร่วมอบรมเช่น  คุณคณะครูและนักเรียน โรงเรียนบ้านโคกย่าง ชาวบ้านบ้านโคกย่าง  ประมาณ 49 คน   โดยเนื้อหาการอบรมเบื้องต้นประกอบไปด้วย เช่น การเตรียมอาหารวุ้น การคัดเลือกดอกเห็ดมาทำพันธุ์ การเตรียมอุปกรณ์ในการเขี่ยเชื้อเห็ด การนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันสูง    และการเขี่ยเชื้อเห็ด  รวมถึงการถ่ายเชื้ออาหารวุ้นลงในข้าวฟ่างบรรจุลงในขวด ซึ่งต้องทิ้งระยะให้เชื้อเห็ดขยายประมาณ10-12 วัน แล้วจึงนำไปหยอดในก้อนเห็ดต่อไป

รูปภาพ



โดยกลุ่ม – คณะเทคโนโลยีอุตสากรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
พื้นที่ที่รับผิดชอบ – ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อโครงการ – การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

 

อื่นๆ

เมนู