ชื่อบทความ : ID02 – อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ชุมชนผู้สร้างผลิตภัณฑ์ ต.โคกย่าง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
พื้นที่: ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาววราภรณ์ รัตน์ประโคน
ประเภท: บันฑิตจบใหม่
อบรมเชิงปฏิบัติการแก่ชุมชนผู้สร้างผลิตภัณฑ์
ต.โคกย่าง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
เนื่องด้วยชุมชนตำบลโคกย่างมีผลิตภัณฑ์ที่คนในชุมชนได้รวมกลุ่มกันทำแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก และชาวบ้านยังขาดมีความรู้ด้านการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยการรับรองมาตฐาน (มผช) การสร้างอัตลักษณ์ โลโก้ และบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ใด้มากขึ้น ทางคณะผู้ดำเนินประจำตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำความรู้มาเผยแพร่สู่ชมชนให้แก่ผู้สร้างผลิตภัณฑ์และผู้สนใจเข้าร่วมฟังบรรยายโดย หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมผลิตและพัฒนาอุตสาหกรมม สำนักงานอุตสาหกรรมชุมชน และอาจารย์ ดร.สินีนาฏ รามฤทธิ์ อาจารย์สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ แต่เนื่องสถานการการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้ไม่สามารถรวมตัวกันได้ทางทีมผู้ดำเนินงานและคณะได้ทำการแบ่งทีมทั้งหมด 3 ทีมด้วยกัน ได้แก่ ทีมหมู่ที่ 2 , หมู่ที่7 และหมู่ที่ 8 ได้ทำการจัดอบรมในระบบออนไลน์โดยใช้ google meet ในการอบรมในครั้งนี้
การอบรมแบ่งออกเป็น 2 เรื่องด้วยกัน ได้แก่
– กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยการรับรองมาตฐาน (อย.มผช)
– กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยการรับรองมาตฐาน (อย.มผช)
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) หมายถึง ข้อกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชน เป็นข้อกำหนดที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เหมาะกับสภาพการผลิตของชุมชน เครื่องหมาย มผช. ให้การรับรองโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) โดยจะมีเงื่อนไขการรับรอง ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และต่างจากการให้การรับรองเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ของสมอ. จะแสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.)
วัตถุประสงค์ของโครงการที่สำคัญคือ
1. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้รับการรับรองและแสดงเครื่องหมายการรับรอง
2. ส่งเสริมด้านการตลาดของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลาย
3.สามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชน
4. เน้นให้ชุมชนมีการพัฒนาแบบยั่งยืน
5. สนับสนุนนโยบายสำคัญของรัฐบาลโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนของชุมชน
6. ให้ความสำคัญของการนำภูมิปัญญาชาวบ้าน และทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาพัฒนาและสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้นมีคุณภาพมีจุดเด่นมีเอกลักษณ์มีการพัฒนาท้องถิ่นสร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งพาตนเองสร้างงานสร้างรายได้
ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
1.ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความลอดภัย
2.ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
3.ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
4.สร้างความเชื่อมั่น และความเชื่อถือ
5.เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยการพัฒนาบรรจุภัณฑ์
บรรจุภัณฑ์หรือการบรรจุหีบห่อ หมายถึงศาสตร์และศิลป์ที่ใช้ในการบรรจุสินค้าโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการคุ้มครองปกป้องสินค้าจากผู้ผลิตจนถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยด้วยต้นทุนการผลิตที่เหมาะสม

5.เป็นต้นทุนในการผลิตสินค้า เมื่อบรรจุภัณฑ์ดีย่อมมีส่วนช่วยให้มูลค่าสินค้าสูงขึ้น
รูปภาพการดำเนินกิจกรรม
กิจกรรมเพิ่มเติมติดตามผลการทอเสื่อกก