ชื่อบทความ : การทำปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน ชื่อพื้นที่ : บ้านตาจรู๊ก ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : กิตติศักดิ์ ชัยวิเศษ ข้าพเจ้า ทีมงาน และคณะอาจารย์ประจำหลักสูตร จากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้จัดร่วมกิจกรรม “โครงการการทำปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน “ เพื่อเป็นการให้ความรู้กับคนในชุมชน และได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเป็นแนวทางในการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองและเพื่อประหยัดงบประมาณในการซื้อปุ๋ย และเพื่อนำมาใช้ในการเกษตรแบบไม่มีสารเคมี การทำปุ๋ยใช้วัสดุที่มีในครัวเรือนดังนี้ หน่อกล้วย กากน้ำตาล ฟาง แกลบ น้ำเปล่า วิธีทำ – หั่นหรือสับหน่อกล้วยให้เป็นชิ้นเล็กๆ – กากน้ำตาล ผสมน้ำ คนให้เข้ากัน – นำหน่อกล้วยสับแล้ว ใส่ในถังพร้อมน้ำเปล่าทั้งหมด และส่วนผสมกากน้ำตาล ฟาง แกลบ ผสมให้เข้ากัน – ปิดฝาไม่ต้องสนิท ตั้งไว้ในที่ร่ม ระหว่างการหมักคนหรือกวนทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เพื่อการระบายก๊าซและทำให้ส่วนผสมคลุกเคล้าได้ดีขึ้น – หมักนาน 15-30 วัน กรองน้ำใส่ขวดไว้ใช้ได้ น้ำหมัก 1 ลิตร ผสมน้ำเปล่า 100 ลิตร ใช้ฉีดพ่นลงดิน จะทำให้ดินร่วนซุย ช่วยให้ต้นไม้เจริญเติบโตให้ผลผลิตที่มากขึ้น และปลอดสารพิษอีกด้วย
ภาพประกอบ : การอบรมทำปุ๋ยชีวภาพ การทำปุ๋ยอินทรีย์จากวัสดุเหลือใช้ในครัวเรือน
ทั้งนี้คนในชุมชนบ้านตาจรู๊ก ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ยังมีการปลูกผักเพื่อทานเองในครัวเรือนและจำหน่ายด้วย ซึ่งเป็นการดี ที่ทีมงานจากโครงการ U2T ได้จัดกิจกรรมอบรมการทำปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ จากวัสดุที่มีอยู่แล้วในครัวเรือน ชาวบ้านก็สนใจและเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมาก เพราะการทำปุ๋ยไว้ใช้เอง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก แถมผักก็ยังปลอดภัยไม่มีสารเคมีอีกด้วยปุ๋ยอินทรีย์ยังเพิ่มธาตุอาหารในดิน ทำให้พืนผักเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตที่มากขึ้นด้วย
ภาพประกอบ : ผักปลอดสารบ้านตาจรู๊ก ต.โคกย่าง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
ในเดือนนี้ข้าพเจ้าและทีมงานก็ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูล เพื่อลงระบบ CBD เพิ่มเติมข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับผู้ที่ย้ายกลับบ้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด ร้านอาหารในท้องถิ่น อาหารที่น่าสนใจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เกษตรกรในท้องถิ่น แหล่งน้ำในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่น พืชในท้องถิ่น ที่พัก/โรงแรม เพื่อให้ได้ข้อมูลทั่วไปให้มากที่สุด เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาตำบลโคกย่างต่อไป
ภาพประกอบ : ลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติม และกรอกข้อมูลลงระบบ CBD
การยกระดับการท่องเที่ยวในชุมชน
ในกิจกรรมครั้งนี้ ทีมงาน U2T และคณะอาจาจารย์ ประจำตำบลโคกย่าง ได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้แก่คนในชุมชน เกี่ยวกับการสร้างจุดเด่นและพัฒนาในสิ่งที่มีอยู่ในตำบลให้น่าสนใจ เป็นที่จดจำ และการให้ความรู้ในการวางแผนในการเตรียมความพร้อมสู่ตำบลแห่งการท่องเที่ยว และเพื่อเป็นการต่อยอดการท่องเที่ยวระดับชุมชนต่อไป
ภาพประกอบ : กิจกรรมการยกระดับการท่องเที่ยวในชุมชน
——————————————————————————————————————————————
โดยกลุ่ม : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
พื้นที่รับผิดชอบ : ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อโครงการ : การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์