ชื่อบทความ : ยกระดับการท่องเที่ยวและการทำปุ๋ยชีวภาพ
พื้นที่ : ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผู้เขียน : นางสาวนิศาชล ทองเกลี้ยง (บัณฑิตจบใหม่)
ในเดือนพฤศจิกายน ทางอาจารย์และทีมงานโครงการ u2t ประจำตำบลโคกย่างได้มีการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการนักสื่อสารความหมายผลิตภัณฑ์ เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน นักเล่าเรื่อง การพัํฒนาการสื่อสารออนไลน์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว ของตำบลโคกย่าง และกิจกรรมที่สองการทำปุ๋ยจุลินทรีย์
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมยกระดับการท่องเที่ยว
โดยกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการนักสื่อสารความหมายผลิตภัณฑ์ เส้นทางท่องเที่ยวชุมชน นักเล่าเรื่อง การพัฒนาการสื่อสารออนไลน์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว ของตำบลโคกย่าง มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับตำบลโคกย่างของเราไปสู่ตำบลการท่องเที่ยวระดับชุมชนเป็นการท่องเที่ยวเชิงวิถีชุมชนของตำบลโคกย่าง มีการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ด้านการท่องเที่ยวให้กับประชาชนในตำบลโคกย่างเพื่อที่จะสามารถนำไปต่อยอดได้
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
กิจกรรมที่ 2 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ ช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินเป็นอาหารแก่พืช
ประโยชน์ของปุ๋ยหมักชีวภาพ
การใช้ประโยชน์
1. ทำให้โครงสร้างของดินและการซึมผ่านของน้ำดีขึ้น
2. เพิ่มการดูดซับธาตุอาหารหลักและลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด
3. เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินและลดปริมาณเชื้อโรคพืชบางชนิด
4. การระบายอากาศของดินและรากพืชแผ่กระจายได้ดีขึ้น
5. ดินค่อยๆปล่อยธาตุอาหารพืชและลดการสูญเสียธาตุอาหารของพืช
หลักการใช้
1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง และฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคุกกับดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกผักประมาณ 1 กำมือ
3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้าใบไม้แห้ง ฟางและปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แนวทรงพุ่ม 2 กก.ต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งหรือฟาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพเดือนละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 กำมือ
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |