1. หน้าแรก
  2. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  3. ID02 - ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย
  4. ID02-หลักสูตรอบรมเชิงปฎิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อความยังยืนด้านการเกษตรชุมชนตำบลโคกย่าง

ID02-หลักสูตรอบรมเชิงปฎิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อความยังยืนด้านการเกษตรชุมชนตำบลโคกย่าง

ชื่อบทความ:ID02หลักสูตรอบรมเชิงปฎิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อความยังยืนด้านการเกษตรชุมชนตำบลโคกย่าง
พื้นที่:  ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ:  นาย ปรีชา มะลิซ้อน
ประเภท :  ประชาชน 


กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมยกระดับการท่องเที่ยว

                จากที่ทีมงานU2Tได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลและทำกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมาได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับ ภูมิศาสตร์ ประวัติความเป็นมาของชุมชน และอาชืพภายในชมชน ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฎิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในตำบลโคกย่างขึ้นเพื่อยกระดับเศรษฐกิจและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยทางคณะอาจารย์ประจำตำบลโคกย่างและทีมงาน U2T ได้เชิญชวนกลุ่มชุมชนเป้าหมาย มาร่วมกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น กลุุ่มแม่บ้านทอเสื่อกกตำบลโคกย่าง คณะครูของโรงเรียนโคกย่าง คณะผู้นำกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลโคกย่าง เจ้าหน้าที่ของ รพ.สต.ตำบลโคกย่างและกลุ่มเพาะเห็ดตำบลโคกย่าง

                ซึ่งทางคณะอาจารย์ประจำตำบลโคกย่างได้เรียนเชิญ อาจารย์ วันดี เธียรสวัสดิ์กิจ ประธานชมรมมัคคุเทศก์จังหวัดบุรีรัมย์ มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในชุมชนจากการบรรยายอ.วันดีได้ให้ผู้เข้าอบรมร่วมทำกิจกรรมเขียน Work shop ค้นหาอัตลักษณ์ จุดเด่น สินค้า วัฒนธรรมประเพณี ที่สามารถนำไปทำกิจกรรมการท่่องเที่ยว และฝึกการเป็นมัคคุเทศก์ชุมชนตำบลโกย่าง

รูปภาพประกอบ

กิจกรรมที่ 2 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อความยังยืนด้านการเกษตรชุมชนตำบลโคกย่าง

กิจกรรมอบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ในตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ โดยได้เชิญวิทยากร อาจารย์เลิศภูมิ จันทรเพ็ญกุล ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร มาให้ความรู้และพาปฏิบัติลงมือทำปุ๋ยหมักร่วมกับชาวบ้าน เพื่อให้ชาวบ้านได้รับความรู้และจดจำวิธีการอย่างชัดเจนและเป็นประโยชน์ให้กับชาวบ้านได้นำไปใช้กับพืชไร่ของเกษตรกรต่อไป

ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ ช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินเป็นอาหารแก่พืช (เพื่อลดต้นทุนในการผลิตให้มากที่สุด ใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด แล้วก็จะทำให้รายได้ของชาวบ้านมีกำไรมากขึ้นโดยการลดต้นทุนในการผลิต)

1.การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

                  จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง คือ จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติทั้งในดินและน้ำ ทำหน้าที่กำจัดของเสีย ก๊าซและสารพิษต่าง ๆ 

ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

  1. ช่วยตรึงไนโตเจนในดิน เพิ่มไนโตเจนให้กับพืช
  2. เร่งการเจริญเติบโต ทำให้พืชแข็งแรงแล้วโตเร็วเป็น 3 เท่า
  3. เมื่อใช้ทางดินทำให้รากพืชแข็งแรงและหาอาหารได้ดีขึ้น ใช้กับนาข้าวช่วยเร่งการแตกกอของข้าว
  4. ช่วยในการย่อยธาตุอาหารและวัตถุอินทรีย์ในดิน เพื่อให้พืชดูดซึมไปใช้ได้อย่างง่ายดาย
  5. ป้องกันพืชโดยการทำลายจุลินทรีย์ไม่ดีในดิน ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืช

วัสดุอุปกรณ์

  1. น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
  2. ขวดน้ำขนาด 1.5 ลิตรหรือมากกว่า
  3. ไข่ไก่ 1 ฟอง
  4. น้ำปลายี่ห้อใดก็ได้

วิธีทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง

  1. ตอกไข่ใส่ถ้วยแล้ว คนให้เข้ากัน
  2. ใส่ผงชูรส 1 ช้อนโต๊ะ
  3. น้ำปลายี่ห้อใดก็ได้1 ช้อนโต๊ะ
  4. นำน้ำใส่ขวดขนาด 1.5 ลิตร ก่อนเติมไข่ไก่ที่เตรียมไว้ลงไป 1 ช้อนโต๊ะ
  5. นำไปตั้งไว้ในบริเวณกลางแจ้งที่มีแดดส่งถึงทุกวัน

รูปภาพประกอบ

          

2.การทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง จากหน่อกล้วย 

                การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย คือการนำหน่อกล้วยมาหมักให้ได้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เพื่อนำมาใช้ในการเกษตร เพราะในดินที่มีต้นกล้วยขึ้นจะเป็นดินที่มีสภาพอุดมสมบูรณ์ มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืช ทั้งยังสามารถนำจุลินทรีย์มาปรับสภาพดินให้เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช จะเห็นได้ว่าที่ใดมีต้นกล้วยขึ้น ดินบริเวณนั้นจะร่วนซุย โปร่ง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุอาหารต่าง ๆ จึงเป็นเหตุผลที่เราทำจุลินทรีย์หน่อกล้วยซึ่งเป็นจุลินทรีย์ดีเติมกลับลงไปในดินที่เราจะปลูกพืช

  1. หน่อกล้วย 1 ต้น สูงประมาณ 1 เมตร
  2. สารเร่ง พด.2  2 ซอง
  3. กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
  4. น้ำเปล่า 200 ลิตร
  5. ถังพลาสติก

วิธีทำ การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย 

  1. หั่นหรือสับหน่อกล้วยให้เป็นชิ้นเล็กๆ
  2. กากน้ำตาล ผสมน้ำ 10 ลิตร นำสารเร่ง พด.2 ผสมลงไป คนให้เข้ากันนาน 5 นาที
  3. นำหน่อกล้วยสับแล้ว ใส่ในถังพร้อมน้ำเปล่าทั้งหมด และส่วนผสมกากน้ำตาลกับสารเร่ง พด.2 คนส่วนผสมให้เข้ากัน
  4. ปิดฝาไม่ต้องสนิท ตั้งไว้ในที่ร่ม ระหว่างการหมักคนหรือกวนทุกวัน วันละ 1 ครั้ง เพื่อการระบายก๊าซและทำให้ส่วนผสมคลุกเคล้าได้ดีขึ้น
  5. หมักนาน 21 วัน กรองน้ำใส่ขวดไว้ใช้ได้

การนำไปใช้

น้ำหมัก 1 ลิตร ผสมน้ำเปล่า 100 ลิตร ใช้ฉีดพ่นลงดิน จะทำให้ดินร่วนซุย ฉีดพ่นทางใบลดปริมาณน้ำหมักลงครึ่งหนึ่งฉีดพ่น ปีละ 2 ครั้ง ช่วงก่อนออกดอกและช่วงหลังตัดแต่งกิ่ง

รูปภาพประกอบ

 

3.การทำปุ๋ยหมักมูลวัวกับฟางข้าว

การทำปุ๋ยหมักมูลวัว คือปุ๋ยที่ได้จากการหมักสารอินทรีย์ให้สลายตัวผุพังตามธรรมชาติ โดยนำสิ่งเหล่านั้นมากองรวมกัน รดน้ำให้ชื้น แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เกิดการย่อยสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จึงนำไปใช้ปรับปรุงดิน

วัสดุอุปกรณ์

  1. มูลวัว เพราะหาง่ายสุด หรือมูลสัตว์ชนิดไหนก็ได้
  2. เศษฟางข้าว หรือใบไม้ หรือเศษผักต่างๆ ที่กินเหลือ
  3. กระบวยรดน้ำ
  4. จอบ พลัวผสม
  5. ผ้ายางคลุมปุุ๋ยหมัก

วิธีทำ

ในการทำปุ๋ยหมักจะใช้ มูลวัว และฟางข้าว เป็นวัสดุในการหมัก ซึ่งสัดส่วนในการหมักจะเป็น 4:1 คือ ฟางข้าว 4 และมูลวัว 1 นำมูลวัวและฟางข้าวผสมให้เข้ากันต่อมาก็ให้รดน้ำให้ทั่วๆ พอชุ่มในการหมักปุ๋ยเราจำเป็นต้องรดน้ำให้ชุ่ม และทั่วทุกวัน วันละครั้งจะตอนเวลาไหนก็ได้ และจะวางไว้ในที่ร่ม หรือกลางแจ้งก็ได้ ถ้าวันไหนฝนตกเราก็ยังคงต้องรดน้ำจากนั้นผ้ายางคลุมปุุ๋ยหมักและทุกๆ 10 วันก็ให้เอาไม้ เจาะกองปุ๋ยสัก 6-7 จุด ทั่วๆ กองปุ๋ยของเรา แล้วรดน้ำเติมลงไปในรูนั้นๆ เพราะให้น้ำสามารถเข้าไปยังข้างในกองปุ๋ยได้ทำให้จุลทรีย์ยังคงทำงาน

ให้ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 60 วัน หรือจะนานกว่านี้ก็ได้ ถ้าเราเปิดกองปุ๋ยขึ้นมาจะพบว่าภายในกองปุ๋ยจะเป็นเนื้อละเอียด หากต้องการนำมาใช้งาน ให้ล้มกองปุ๋ยออกมาเทลงพื้นตากแดดไว้ 1 สัปดาห์ เพื่อให้จุลทรีย์ในกองปุ๋ยสงบลง แล้วค่อยนำไปใช้

ประโยชน์ของปุ๋ยหมักชีวภาพ
1. ทำให้โครงสร้างของดินและการซึมผ่านของน้ำดีขึ้น
2. เพิ่มการดูดซับธาตุอาหารหลักและลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด
3. เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินและลดปริมาณเชื้อโรคพืชบางชนิด
4. การระบายอากาศของดินและรากพืชแผ่กระจายได้ดีขึ้น
5. ดินค่อยๆปล่อยธาตุอาหารพืชและลดการสูญเสียธาตุอาหารของพืช

รูปภาพประกอบ


โดยกลุ่ม: คณะเทคโนโลยีอุตสากรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
พื้นที่ที่รับผิดชอบ: ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อโครงการ: แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู