ชื่อบทความ : ID02 : การยกระดับการท่องเที่ยว และการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ
พื้นที่:  ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวสุนารี สลาประโคน
ประเภท:  บัณฑิตจบใหม่

ID02 : การยกระดับการท่องเที่ยว และการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ

กิจกรรมที่ 1 การยกระดับการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ การท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมของชุมชน กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชน เพื่อชุมชน และชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของในการจัดการ ดูแล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน ทั้งนี้ ในการดำเนินกิจกรรมครั้งในได้รับเกียรติจากท่าน อาจารย์ วันดี เธียรสวัสดิ์กิจ และ อาจารย์ จินตนา วัชรโพธิกร ทำหน้าที่เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ สมาชิกในชุมชน ครู และนักเรียนตำบลโคกย่าง เกี่ยวกับแนวคิดค้นหาแหล่งข้อมูลการท่องเที่ยวในชุมชน วิธีการกำหนดเส้นทางท่องเที่ยว การเป็นเจ้าบ้านที่ดี การเป็นนักสื่อสารกิกรรม การใช้สื่อออนไลน์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยว และการเป็นนักสื่อความหมายผลิตภัณฑ์ที่ดี

กิจกรรมที่ 2 การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ

ปุ๋ยหมักชีวภาพคือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพช่วยในการ ปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นอาหารแก่พืช การผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพครั้งนี้เป็นสูตรทำ “น้ำหมักชีวภาพ” ที่ทำจากหน่อกล้วย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “จุลินทรีย์หน่อกล้วย”

ส่วนผสมที่ใช้

  1. หน่อกล้วยเล็กๆสูงประมาณ 1 เมตร 3 กิโลกรัม
  2. กากน้ำตาล 1 ลิตร
  3. น้ำฝนหรือน้ำประปาที่ไม่มีคลอรีน 3 ลิตร
  4. EM จำนวน 3 ฝา
  5. ถังพลาสติกพร้อมฝาปิด 1 ใบ

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ

  1. สับหน่อกล้วยให้ละเอียด
  2. เติมน้ำเปล่าลงถัง เติมกากน้ำตาลและ EM จำนวน 3 ฝา ลงไป คนให้ละลายเข้ากันประมาณ 15 นาที
  3. เติมหน่อกล้วยที่สับละเอียดลงไป คนให้เข้ากันอีกครั้ง กดวัสดุหมักให้จมลง ปิดฝาถัง นำไปวางไว้ในที่ร่ม 10 วัน นำไปกรองเอาเฉพาะน้ำใช้ได้เลย ส่วนกากที่เหลือให้นำไปทำปุ๋ยหมักหรือนำไปใส่กระจายรอบโคนต้นไม้ได้เลย

หลักการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ

1.ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

2.พืชผักอายุเกิน2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง และฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกผักประมาณ 1 กำมือ

3.ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้าใบไม้แห้ง ฟางและปุ๋ยหมักชีวภาพ1-2 กิโลกรัมสำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ

แนวทรงพุ่ม 2กก.ต่อ1ตารางเมตรแล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งหรือฟางควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพเดือนละ1 ครั้งๆละ1กำมือ

ประโยชน์ของปุ๋ยหมักชีวภาพ

  1. ทำให้โครงสร้างของดินและการซึมผ่านของน้ำดีขึ้น
  2. เพิ่มการดูดซับธาตุอาหารหลักและลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด
  3. เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินและลดปริมาณเชื้อโรคพืชบางชนิด
  4. การระบายอากาศของดินและรากพืชแผ่กระจายได้ดีขึ้น
  5. ดินค่อยๆ ปล่อยธาตุอาหารพืชและลดการสูญเสียธาตุอาหารของพืช

โดยกลุ่ม : คณะเทคโนโลยีอุตสากรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
พื้นที่ที่รับผิดชอบ : ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อโครงการ : โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ

(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ)

อื่นๆ

เมนู