ID02_อบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ โดยการรับรองมาตรฐาน ( มผช )
เขียนโดย นายพูนสุข เอี่ยมศิลาภัณฑ์
ชื่อบทความ :อบรมเชิงปฎิบัติการเพื่อยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ โดยการรับรองมาตรฐาน (มผช )
พื้นที่: ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผู้เขียน: นายพูนสุข เอี่ยมศิลาภัณฑ์ (ประเภท ประชาชน)
        เมื่อวันเสาร์ที่ 11 กันยายน 2564 ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ได้เชิญวิทยากร นางสาวอมรรัตน์ จันทร์ชูวงศ์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์ มาให้ความรู้อบรม เรื่อง มาตรฐานผลิตภัณ์ชุมชน โดยเป็นการอบรมแบบออนไลน์ผ่านระบบ Google Meet โดยมีผู้เข้าอบรมเป็นชาวบ้านภายในชุมชน คุณครูโรงเรียนบ้านโคกย่าง และทีมงาน
หัวข้อบรรยายโดยสรุปได้ดังนี้
     มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนคือ ข้อกำหนดคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในชุมชน มีภูมิปัญญาท้องถิ่นและเอกลักษณ์เฉพาะอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ และ เป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง โดยผู้ที่ได้รับการรับรองจะได้รับใบรับรองคุณภาพ          มีตราสัญลักษณ์(ลักษณะเป็นรูปมือประสานต่อเนื่องกันภายในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัสเอียงเป็นมุมสี่สิบห้าองศา) มีอายุการใช้งาน 3 ปี การยื่นขอรับการรับรอง มผช.ก็ไม่ยุ่งยากซับซ้อน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดบุรีรัมย์

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ 5 ประเภทได้แก่
1.ประเภทอาหาร
2.ประเภทเครื่องดื่ม
3.ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
4.ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย
5.ประเภทเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่ง ศิลปะประดิฐและของที่ระลึก
ประโยชน์ของการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน
1. ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพดีขึ้น มีความปลอดภัย
2. ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ
3. ผู้ซื้อ ผู้บริโภค และผู้เกี่ยวข้องตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
4. สร้างความเชื่อมัน และความน่าเชื่อถือ
5. เพิ่มโอกาสทางการค้า ผู้ผลิตเข้าถึงตลาดได้ง่ายขึ้น
      โดยตอนท้ายท่านวิทยากรได้แนะนำภายในตำบลโคกย่าง มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างเช่น เสื่อกก ผลิตภัณฑ์จากเห็ด และอื่น ๆ ควรเยื่นขอรับการรับรอง มผช. เพื่อเพิ่มประโยชน์และคุณค่าผลิตภัณฑ์ยิ่งขึ้น

                                                                 ภาพกิจกรรม

กิจกรรมต่อเนื่องติดตามผล การทอเสื่อกก
     ความคืบหน้า การขึ้นลายเสื่อกก หมู่ 8

โดยกลุ่ม: คณะเทคโนโลยีอุตสากรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
พื้นที่ที่รับผิดชอบ: ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อโครงการ: การยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัด

 

อื่นๆ

เมนู