ชื่อบทความ : ชุมชนและครัวเรือน ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
พื้นที่ : ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
เจ้าของบทความ : นางสาว ธัญลัษณ์ มะลิซ้อน
ประเภท:ประชาชน
หลักสูตร: โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 ณ บ้านโคกเบง หมู่8 ตำบล โคกย่าง อำเภอ ประโคนชัย จังหวัด บุรีรัมย์
ข้อมูลบริบทชุมชนตำบล
ตำบลโคกย่างแยกมาจากตำบลจระเข้มาก เมื่อปี พ.ศ. 2511 ซึ่งประกอบไปด้วยหมู่บ้าน 9 หมู่บ้าน และตำบลโคกย่างได้ยกฐานะเป็น อบต. เมื่อปี พ.ศ. 2539 ตำบลโคกย่างอยู่ห่างจากอำเภอประโคนชัย 7 กม. ห่างจากจังหวัดบุรีรัมย์ 50 กิโลเมตร เขตการปกครองมีพื้นที่ประมาณ 44 ตารางกิโลเมตร หรือ 27,500 ไร่ พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ดินร่วนปนทราย และบางที่เป็นดินเหนียว จำนวนประชากรทั้งหมดในตำบลโคกย่างทั้งสิ้น 4,307 คน ชาย 2,095 คน หญิง 2,212 คน จำนวนหลังคาเรือนในเขตพื้นที่ 1,187 หลังคาเรือน ลักษณะบ้านเรือนมีทั้งบ้านที่สร้างจากไม้ และบ้านที่สร้างจากปูน
เขตพื้นที่
ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลโคกม้า และ ตำบลประทัดบุ อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศใต้ ติดกับ ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลประโคนชัย อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลประทัดบุ ตำบลจระเข้มาก และ ตำบลเขาพนมรุ้ง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
เขตการปกครอง: พื้นที่รับผิดชอบจำนวน 9 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่1 บ้านตะแบก
หมู่2 บ้านโคกย่าง
หมู่3 บ้านบัวพระ
หมู่4 บ้านตาจรู๊ก
หมู่5 บ้านเก็ม
หมู่6 บ้านโคกสูง
หมู่7 บ้านตะโก
หมู่8 บ้านโคกเบง
หมู่9 บ้านกันตุยจูน
อาชีพ
อาชีพหลักส่วนใหญ่ ทำนา
อาชีพเสริม รับจ้าง
ภาษาที่ใช้
ส่วนใหญ่ใช้ภาษาเขมรถิ่นไทย และรองลงมาคือภาษาไทย
จากการสำรวจ พบว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในพื้นที่อำเภอที่อาศัย ด้านการเกษตร เช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ และมีบางส่วนประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ รับจ้างทั่วไป/บริการ รับราชการ และว่างงาน/ไม่มีงานทำ
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับตำบลโคกย่าง
จากการลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านโคกเบงแบ่งเป็น 3 คุ้ม คือ คุ้มห้วยสำราญ คุ้มโคกตาสุข และคุ้มโคกเบง ของตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลระดับบุคคล ครัวเรือนและชุมชน ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ของมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ โดยการใช้แบบสอบถาม 4 แบบฟอร์ม คือ แบบฟอร์ม(01) แบบฟอร์ม(02)แบบฟอร์ม(06) และการสำรวจศักยถาพตำบล 16 เป้าหมายกับผู้นำชุมชนเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อมูลภาคครัวเรือน รวมถึงให้ข้อแนะนำ ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านโคกเบงทั้ง 3 คุ้ม
ด้านวิถีการผลิตของคนในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่จะทำนา ปีละ 1 ครั้ง โดยเริ่มไถหว่านเมล็ดพันธุ์เดือนพฤษภาคมและเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เพื่อใช้บริโภค/อุปโภค และจำหน่าย
คนในชุมชนส่วนใหญ่ มีภาวะหนี้สินในการทำการเกษตร โดยกู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) และคนในชุมคนบางส่วนมีเงินออม โดยออมจากกลุ่มออมทรัพย์/กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เดือนละ 20-500บาท
สภาพปัญหาของชุมชน มีดังนี้
1. ปัญหาขาดเเคลนน้ำสะอาดในการอุปโภคบริโภค
2. ปัญหาเส้นทางการสัญจรเกิดการชำรุด เป็นหลุม เป็นบ่อตลอดเส้นทางเข้าหมู่บ้าน
3. ปัญหาแสงสว่างไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
4. หอกระจายข่าวสาร
แนวทางการแก้ไขปัญหาของคนในชุมชน มีดังนี้
1. รองน้ำเก็บน้ำในช่วงฤดูฝนให้ได้มากที่สุด เพื่อลดการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค
2. หลีกเลี่ยงการขับรถยามกลางคืน เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และรองบจากภาครัฐในการมาปรับปรุงซ่อมแซมการชำรุดของถนน
ความต้องการในการพัฒนาชุมชน
ความต้องการในการพัฒนาชุมชนและอยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เข้ามาสนับสนุนช่วยเหลือให้ด้านต่างๆ อันดับแรก เรื่องน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค อันดับสอง เรื่องเส้นทางการจราจร อันดับสาม เรื่องอบรมอาชีพสำหรับกลุ่มแม่บ้าน
“ผลสรุปจากการลงพื้นที่สำรวจ” บ้านโคกเบง หมู่ที่ 8ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ คนในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการตอบแบบสอบถามและให้ข้อมูลที่เป็นความจริง จนทำให้ทราบถึงปัญหาหลักของคนในชุมชน พบว่า ในชุมชมขาดเเคลนน้ำสะอาดในการอุปโภคบริโภค เส้นทางการสัญจรเกิดการชำรุด เป็นหลุม เป็นบ่อตลอดเส้นทางเข้าหมู่บ้าน แสงสว่างไม่เพียงพอ ทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และในด้านการประกอบอาชีพ ชาวบ้านส่วนใหญ่อยากให้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์เข้ามาสนับสนุนช่วยเหลืออบรมวิชาการให้ด้านต่างๆ ให้แก่คนในชุมชน ในการนี้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจจะถูกนำไปวิเคราะห์ พิจารณา ในการพัฒนาชุมชนต่อไป
ภาพจากการลงพื้นที่สำรวจ และพบปะชาวบ้านในพื้นที่ท้องถื่น เพื่อรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม
ภาพจากการลงพื้นที่สำรวจ 16 เป้าหมาย