ชื่อบทความ : วิเคราะห์ SWOTจากการลงพื้นที่บ้านตะแบก ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผู้เขียน : นางสาววราภรณ์ รัตน์ประโคน  (บัณฑิตจบใหม่)


        ข้าพเจ้า นางสาววราภรณ์ รัตน์ประโคน ผู้ปฏิบัติงานประจำ ต.โคกย่าง อ.ประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ปฏิบัติงานประจำเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 งานที่ได้รับมอบหมายในเดือนนี้ คือ วิเคราะห์ SWOT ข้าพเจ้ารับผิดชอบในพื้นที่ บ้านตะแบก หมู่ที่ 1 ต.โคกย่าง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
       จากการสรุปผล พบว่า การระบาดของไวรัส COVID-19 มีผลกระทบต่อรายได้ของประชาชนในพื้นที่เป็นส่วนมาก เพราะส่วนใหญ่ทำอาชีพการเกษตรและอาชีพรับจ้างทั่วไป จะมีการเดินทางไปทำงานที่ต่างจังหวัด ซึ่งช่วงนี้ไม่สามารถเดินทางไปทำงานได้เพราะมีความหวาดระแวงต่อการติดเชื้อของไวรัส COVID-19  อย่างมาก ทำให้มีผลกระทบต่อรายได้อย่างมากเช่นกัน
       การวิเคราะห์ SWOT ในพื้นที่สรุปได้ดังนี้
-จุดแข็ง ดังนี้ กองทุนหมู่บ้าน ปลูกผักเป็นอาชีพ มีอ่างเก็บน้ำหมู่บ้าน มีโรงงานไม้แปรรูป ไม่ไกลจากตัวอำเภอ
-จุดอ่อน ดังนี้ ไม่มีพื้นที่ในการตากข้าวในฤดูเก็บเกี่ยว ชาวบ้านใส่ใหญ่มีหนี้สิน ว่างงาน(ผลกระทบ covid-19) ไม่มีที่ดินทำกิน
-โอกาส ดังนี้ มีช่องทางการจำหน่าย มีการปลูกผักหมุนเวียนตลอดทั้งปี
– อุปสรรค ดังนี้ แหล่งน้ำที่มีไม่เพียงพอในฤดูแล้ง ถนนเข้าไม่ถึงในบางพื้นที่ ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงในบางพื้นที่ ทำนาเยอะราคาข้าวตกต่ำ

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT  เป็นการวิเคราะห์สภาพภายในและภายนอนกชุมชน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานอย่างไร จุดแข็งของชุมชนจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนของชุมชนจะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงานโอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถาณการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อบรรลุเป้าหมายในการดำเนินงาน ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ภาพประกอบ

อื่นๆ

เมนู