ชื่อบทความ: แผนพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่การพัฒนาเศรษฐกิจบ้านโคกเบง ตำบลโคกย่าง
พื้นที่: หมู่ 8 บ้านโคกเบง ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ:  นาย ปรีชา มะลิซ้อน
ประเภท:  ประชาชน


การปฎิบัติงานในเดือนนี้ข้าพเจ้าและทีมงานได้มีการประชุมการทำงานประจำเดือน ในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลการลงพื้นที่เก็บข้อมูลของตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย เพื่อหา “จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค” ที่มีในพื้นที่ชุมชน ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย ที่ผ่านมา เพื่อนำมาสรุปการทำงานและวางแผนการทำงานในลำดับต่อไป

จากการที่ข้าพเจ้าและสมาชิกได้ลงปฎิบัติงานในพื้นที่ หมู่8 บ้านโคกเบง ตำบลโคกย่าง อำเภอประโคนชัย ได้นำเสนอข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนทำให้ทราบถึง “จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ อุปสรรค” ของชุมชน ซึ่งประชาชนที่อาศัยอยู่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ อาศัยอยู่กับหลาน บุตรไปทำงานที่ต่างจังหวัด มีอาชีพ ทำนา รับจ้างทั่วไป ประชาชนในชุมชนมีรายได้น้อย ทำนาได้เพียงปีละครั้ง เนื่องจากแหล่งน้ำบริเวณชุมชนมีขนาดเล็ก จึงไม่เพียงพอต่อการ อุปโภค บริโภค ไม่มีอาชีพเสริม เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นหนี้ทั้งในระบบ และนอกระบบ เป็นจำนวนมาก และต้องการหาอาชีพเสริมเพียงแต่ยังไม่มีโอกาสได้เรียนรู้พัฒนาด้านอาชีพ ภายในชุมชนพบว่ามีอาชีพที่น่าสนใจคือ การทำผลิตภัณฑ์ทอเสื่อกก และเพาะเห็ด

     

จากการสอบถาม การทำผลิตภัณฑ์ทอเสื่อกก ของนาง ลอบ คงประโคน บ้านเลขที่ 33หมู่8 บ้านโคกเบง ตำบลโคกย่าง พบว่าบริเวณชุมชนมีแหล่งที่สามารถเพาะปลูกพืชวัตถุดิบที่มาทำเสื่อกก เพียงพอ แต่ขาดช่องทางการจำหน่ายมีตลาดน้อยมาก ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้ผลิตขาดรายได้ กลายเป็น “จุดอ่อนและอุปสรรค”  สมาชิกได้ทราบถึงปัญหาเหล่านี้ จึงได้มีการประชุมว่างแผนงานพัฒนาผลิตภัณฑ์  ดั้งนี้

1.จัดอบรมเชิงปฎิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทอเสื่อกก เพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

2.จัดอบรมวิธีการหาตลาดเพื่อให้มีช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มากขึ้น

3.จัดอบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทอเสื่อกก แก่ประชาชนที่สนใจภายในชุมชนเพื่อนยกระดับเศรษฐกิจ แบบบูรณาการให้กับชุมชน

ความประทับใจ

เรื่องราวเริ่มต้นจากการที่ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในชุมชน ได้ทราบถึงวิถีชีวิตแบบพอเพียงกับ บรรยากาศที่ร่มรื่น อยู่กันแบบพึ่งพาอาศัยกัน และการประกอบอาชีพ ทำนา เลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก เพาะเห็ด สิ่งที่ประทับใจและน่าสนใจอีกอย่างคือ การทำผลิตภัณฑ์ทอเสื่อกก ซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคสมัยบรรพบุรุษที่น่าจะพัฒนาและอนุรักษ์ต่อๆไป

สรุป

จากการนำเสนอข้อมูลการวิเคราะห์ของชุมชน ได้ทราบถึง “จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค”ที่จะพัฒนาชุมชนมีการวางแผนปฎิบัติงาน การพัฒนาต่อ ยอด ผลิตภัณฑ์ทอเสื่อกกเพื่อเพิ่มมูลค่าสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว


ภาพประกอบ

         

         

         

                   


 

 

อื่นๆ

เมนู