ชื่อบทความ : อ้อย พืชเศรษฐกิจสำคัญตำบลหินลาด(ID03)
พื้นที่ : ตำบล หินลาด อำเภอ บ้านกรวด จังหวัด บุรีรัมย์
ชื่อเจ้าของบทความ : นางสาวเพ็ญประภา คงทรัพย์
ข้าพเจ้า นางสาวเพ็ญประภา คงทรัพย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ต.หินลาด อ.บ้านกรวด ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงาน เมื่อวันที่ 12 -15 พฤษภาคม 2564 ณ ต.หินลาด อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูล โดยจะนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ
ในวันที่ 1 และ 2 พฤษภาคม 2564 ข้าพเจ้าและทีมงานได้วิเคราะห์/วางแผนการปฎิบัติงานในเดือนพฤษภาคม เกี่ยวกับการลงพื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มเติมของตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ลงในแอพพลิเคชั่น U2T และในวันที่ 3 ข้าพเจ้าและทีมงานได้ประชุมออนไลน์ทาง google meet เกี่ยวกับรายละเอียดในการลงพื้นที่และทำความเข้าใจในการเข้าใช้แอพพลิเคชั่น U2T หลังจากนั้นก็ร่วมกันวิเคราะห์วางแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19)
เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าที่ระบาดอย่างต่อเนื่องทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ ข้าพเจ้าจึงศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมทางอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับพืชในท้องถิ่น อาหารประจำถิ่น แหล่งเก็บน้ำ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยวและที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 11 ได้ทำการประชุมร่วมกับอาจารย์ประจำโครงการของตำบลหินลาด และทีมงานของตำบลหินลาด และตำบลบ้านกรวดเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้แอพพลิเคชั่น U2T และการปรับตัวในการลงพื้นที่ในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หลังจากประชุมเสร็จข้าพเจ้าและทีมงานได้แบ่งหน้าที่และแบ่งคนไปเก็บข้อมูลในแต่ละหมู่บ้าน โดยแบ่งกลุ่มละไม่เกิน 2 – 4 คน วันที่ 12 – 15 พฤษภาคม ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูลลงในแอพพลิเคชั่น U2T โดยการสำรวจในครั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจในกลุ่มของพืชในท้องถิ่น พืชที่มีหลักๆในท้องถิ่นเลยก็คือข้าว ซึ่งจะพบในเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน เริ่มหว่านข้าวช่วงพฤษภาคม และเก็บเกี้ยวผลผลิตช่วงเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้ยังมีการปลูกมันสําปะหลังหรือที่คนในพื้นที่นิยมเรียกกันคือมันนา เพราะปลูกหลังจากช่วงที่เก็บเกี้ยวข้าวไปแล้วซึ่งจะเริ่มปลูกในเดือนธันวาคมไปจนถึงพฤษภาคมก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ยางพารานั้นเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศที่ทำรายได้เข้ามาในชุมชนได้มาก ส่วนพืชอีกชนิดหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้สำรวจและสอบถามเจอมาอีกอย่างที่สำคัญคือ “อ้อย” มีการปลูกอ้อยในทุกหมู่บ้านในตำบลหินลาดซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญแก่คนในชุมชน ในชุมชนมักปลูกอ้อยอยู่ 2 ช่วง ช่วงแรกเรียกว่าปลูกอ้อยต้นฝน จะปลูกในช่วงเดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน เป็นการปลูกโดยอาศัยน้ำฝน และอีกช่วงคือ การปลูกอ้อยปลายฝนกรือการปลูกอ้อยข้ามแล้ง มักจะปลูกกลางเดือนตุลาคม – เดือนธันวาคม แต่เนื่องด้วยทรัพยากรที่จำกัดทำให้ชาวบ้านต้องทำการปลูกอ้อยสลับกับปลูกข้าวเป็นปีๆไป คือ ปีไหนปลูกข้าวไม่ปลูกอ้อย ปีไหนปลูกอ้อยไม่ปลูกข้าว อ้อยนั้นเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตน้ำตาล และพลังงานทดแทน ที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีการปลูกอ้อยเป็นอันดับต้นๆของประเทศ และจังหวัดบุรีรัมย์มีโรงงานผลิตน้ำตาลอยู่ 1 แห่ง นั่นทำให้เห็นว่าอ้อยเป็นพืชเศรฐกิจที่นำรายได้เข้าชุมชนจำนวนมาก