ข้าพเจ้านางสาวศิริวิมล ดิบประโคน อยู่ในส่วนของกลุ่มของประชาชน ได้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายจากอารจารย์ประจำหลักสูตร ID03 ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ตำบลหินลาด เป็น 1 ใน 9 ตำบลของอำเภอบ้านกรวด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของที่ว่าการอำเภอมีพื้นที่ประมาณ 32.48 ตารางกิโลเมตร ลักษณะเป็นพื้นที่ราบสูงทางด้านทิศใต้ ด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม แบ่งเขตการปกครอง เป็น 8 หมู่บ้านประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่1 บ้านละหานทรายเก่า หมู่2 บ้านละหานทรายใหม่ หมู่3 บ้านหินลาด หมู่4 บ้านหินลาด หมู่5 บ้านหินลาด หมู่6 บ้านหนองม่วง หมู่7 บ้านโนนค้อ หมู่8 บ้านบึงเจริญ ส่วนใหญ่คนในพื้นที่ประกอบอาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ค้าขาย รับจ้าง อาชีพเสริม หัตถกรรม อุตสาหกรรมครัวเรือน
จากการลงพื้นที่สำรวจในส่วนใน 3 หมู่บ้าน ที่ได้รับมอบหมายจากการแบ่งกลุ่มเพื่อให้งานต่อการเข้าสำรวจ ประกอบด้วยหมู่ 2 บ้านละหานทรายเก่า หมู่ 6 หินลาด หมู่ 7 หินลาด ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในวันอังคาร ที่ 9 – 17 เดือนกุมพาพันธ์ ปี 2564 พบว่าการสำพื้นที่ในครั้งนี้ ชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลต่างๆเป็นอย่างดี ชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่มีสภาพความเป็นอยู่ค่อนข้างดี ส่วนมากทำอาชีพเกษตร การทำนาปลูกข้าว ทำสวนยางพารา มีบางที่ประกอบอาชีพเลี้ยงวัวเลี้ยงความ เลี้ยงหมู เลี้ยงหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้าถุง การค้าการขาย การเลี้ยงหนู ในส่วนของการทำนาข้าว ชาวบ้านส่วนมากทำนาปี ในช่วงเดือนพฤษภาคม ไปจนถึง ช่วงเดือนพฤศจิกายน การทำนาในช่วงนี้ให้ผลผลิตไม่มากนัก น้ำมีไม่มาก หน้าเเล้ง แดดเเรง ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวใครมีที่ดินทำนามากอาจได้นำไปขาย มีที่นาน้อย ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวจึงนำมาบริโภคเป็นส่วนใหญ่ การทำสวนยางในตอนนี้ชาวบ้านขายได้ราคาไม่ค่อยดีนัก เนื้องจากราคายางต่ำลง การเลี้ยงวัว ควาย หมู หนู ก็เลี้ยงตามปกติ การเลี้ยงไหม มีอยู่ไม่มาก มีทั้งบ้านที่เลี้ยงตัวไหมขายไหม บ้านที่รับซื้อเส้นไหมแล้วทำมาทอผ้า โบราณสถานสำคัญในตำบลกินลาด คือ ปราสาทถมอ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณสถานตั้งอยู่ที่บ้านละหานทรายเก่า ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นโบราณสถานแบบขอมประเภทธรรมศาลา (ที่พักคนเดินทาง) ถมอ เป็นภาษาเขมร แปลว่าหิน ปราสาทถมอจึงแปลว่า ปราสาทหิน โบราณสถานปราสาทถมอ ประกอบด้วย ธรรมศาลา เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสร้างด้วยศิลาแลง กรอบประตูหน้าต่างเป็นหินทราย ประตูทางเข้า-ออกอยู่ด้านทิศตะวันออก ผนังทิศใต้เจาะเป็นช่องหน้าต่าง 5 ช่อง ทิศตะวันตกของธรรมศาลาเป็นประตูสู่ตัวปราสาท ภายในมีแท่นหินทรายสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ อาคารทั้งหมดล้อมด้วยสระน้ำรูปเกือกม้า เว้นด้านทิศตะวันออกเป็นทางเดิน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสอีกหนึ่งสระ ปัจจุบันเครื่องบนของปราสาทพังทลายเหลือให้เห็นเพียงฐานและผนังบางส่วนสันนิษฐานว่า ปราสาทถมอเป็นหนึ่งในธรรมศาลา 17 แห่ง ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม
การลงพื้นที่สำรวจในครั้งนี้ ชาวบ้านมีอาชีพส่วนใหญ่ทำการเกษตรเป็นหลัง รองลงมาเป็นการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น วัว ควาย หมู หนู หรือการเลี้ยงไหม เเละการค้าขายในหมู่บ้าน ปัญหาที่พบส่วนใหม่ จะเกี่ยวข้องกับ ถนนที่พังเสียหาย ถนนเเตกยากต่อการใช้สัญจรไปมา ของคนในหมู่บ้าน เเส้งสว่างที่ไม่เพียงพอ ในยามค่ำคืนการว่างงานของคนในหมู่บ้าน เเละการนำผลผลิตออกไปจำหน่ายได้ราคาไม่ดี ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ ความต้องการของชาวบ้าน คือการอยากให้มีการจัดอบรม เกี่ยวกับการสร้างอาชีพ กานอบรมวิชาการด้านเครื่องเคลือบดินเผา การอบรมอาชีพให้แกชาวบ้านในชุมชนและการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดีของชุมชน
ภาพประกอบการลงพื้นที่สำรวจ
วิดิโอประจำเดือนกุมภาพันธ์