ข้าพเจ้านาย ธนกฤต พูนวิเชียร
ประเภท : นักศึกษา
ได้รับมอบหมายการปฏิบัติงานจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ
เนื่องด้วยสถานการณ์ Covid – 19 จึงต้องทำการลงพื้นที่เป็นกลุ่มๆ กลุ่มละไม่เกิน 3-4 คน เพื่อไม่ให้เกิดการรวมตัวเป็นหมู่มาก โดยการลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลในตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ผ่านระบบแอพพลิเคชัน U2T
การสำรวจในครั้งนี้ ได้ทำลงพื้นที่สำรวจในกลุ่มของพืชในท้องถิ่น พืชที่มีหลักๆในท้องถิ่นเลยก็คือข้าว ซึ่งจะพบในเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน เริ่มว่านข้าวช่วงพฤษภาคม และเก็บเกี้ยวผลผลิตช่วงเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้ยังมีการปลูกมันสําปะหลังหรือที่คนในพื้นที่นิยมเรียกกันคือมันนา เพราะปลูกหลังจากช่วงที่เก็บเกี้ยวข้าวไปแล้วซึ่งจะเริ่มปลูกในเดือนธันวาคมไปจนถึงพฤษภาคมก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ส่วนพืชอีกชนิดหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้สำรวจและสอบถามเจอมาอีกอย่างที่สำคัญคือต้นยางพารามีการปลูกต้นยางพาราในทุกหมู่บ้านในตำบลหินลาดซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญแกคนในชุมชน ต้นยางพารานั้นเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะน้ำยาง ซึ่งเป็นผลิตผลที่ได้จากท่อลำเลียงอาหารในส่วนเปลือกของต้นยางพารา สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ตั้งแต่อุตสาหกรรมหนัก เช่น การผลิตยางรถยนต์ ไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือน น้ำยางที่ได้จากต้นยางพารามีคุณสมบัติบางอย่างที่ยางสังเคราะห์ ไม่สามารถทำให้เหมือนได้ ส่วนช่วงระยะเวลาที่กรีดยางนั้นบางพื้นที่กรีดตลอดทั้งปี และบางที่กรีดช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกุมภาพันธ์ ส่วนเวลาที่กรีดยางพาราก็จะเป็นช่วงเวลากลางคืน เพราะตอนกลางวันแดดร้อนคายน้ำมากน้ำสะสมในลำต้นน้อยทำให้ไม่ให้น้ำยางได้มากเท่าที่ควร ตอนกลางคืนแดดไม่ร้อนต้นยางสะสมน้ำมาก(ไม่คายน้ำทางใบ)ก็เลยให้น้ำยางมาก ผลผลิตที่ได้จากต้นยางพาราคือน้ำยางพารา ซึ่งพื้นที่ตำบลหินลาดนี้จะนิยมทำเพื่อจำหน่ายคือยางพาราก้อนหรือขี้ยางมากกว่าขายแบบน้ำยาง
สรุปคือการลงพื้นที่สำรวจพืชในท้องถิ่นในครั้งนี้ได้พบว่ายางพาราคือพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ใช้หล่อเลี้ยงชีพและครอบครัวได้ ถึงจะเจอโควิดรุมเหล่าแต่ชาวสวนยางพาราก็สู้ชีวิตเต็มที่เพื่อปากท้องนั้นเอง