การเผาเคลือบเครื่องปั้นดินเผา
ข้าพเจ้านางสาวเสาวรส แสนดี ประเภท กพร. รับผิดชอบพื้นที่ ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในเดือนกันยายน 2564 นี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ทำให้การทำงานของทีมงานเป็นไปอย่างยากลำบาก แต่โครงการเครื่องปั้นดินเผาต้องดำเนินการต่อไป ข้าพเจ้า ทีมงาน และคณะอาจารย์ ได้มีการประชุมวางแผนในการทำงาน โดยการแบ่งกลุ่มชาวบ้านออกเป็น 3 กลุ่ม 3 วัน เพื่อให้ชาวบ้านทยอยเข้ามาดูการเคลือบชิ้นงานเครื่องปั้นดินเผา ทีละ 1-2 คน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา
การเผาเคลือบในกระบวนการผลิตเซรามิกส์ ขั้นตอนการเผาเคลือบ ทำหลังจากชิ้นงานผ่านการลงสีเคลือบ และพ่นเคลือบแล้ว แต่นำมากล่าวในส่วนนี้เพื่อให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกับการเผา ส่วนลักษณะของน้ำเคลือบจะกล่าวถึงในส่วนต่อไป
- ชิ้นงานที่ผ่านการเผาดิบ จะมีความแข็งแรง แต่มีรูพรุนมาก และมีความแข็งน้อย
การเพิ่มคุณภาพของชิ้นงานจะใช้การทาน้ำเคลือบ และเผาเคลือบอีกครั้ง นอกจากจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามแล้ว การเผาเคลือบเป็นการเพิ่มคุณภาพของชิ้นงานต่อการใช้งาน ทำให้ชิ้นงานลดอัตราการซึมของน้ำ มีความแข็งมากขึ้น ทำความสะอาดง่าย และคงทนต่อการใช้งาน
- ขั้นตอนการเผาเคลือบ มีหลักคล้ายกับการเผาดิบ และที่แตกต่างอย่างชัดเจน
การเผาเคลือบจะเป็นการทำให้ส่วนประกอบของน้ำเคลือบหลอมตัวเป็นแก้วยึดติดกับผิวของชิ้นงาน และเกิดสีตามส่วนประกอบที่อยู่ในน้ำเคลือบ การเปลี่ยนแปลงของน้ำเคลือบในการเผาเคลือบเบื้องต้นมีดังนี้
- การเผาด้วยอุณหภูมิต่ำในช่วงแรก เป็นการเผาไล่น้ำ และความชื้น ที่อยู่ในน้ำเคลือบ และซึมเข้าไปยังผิวของชิ้นงานในอุณหภูมิ 120oC
- การเผาไล่น้ำที่เกิดอยู่ในโครงสร้างของวัตุดิบที่นำมาผลิตเป็นน้ำเคลือบ การเผาจะใช้อุณหภูมิประมาณ 350 – 570oC น้ำที่อยู่ในองค์ประกอบของน้ำเคลือบจะสลายตัว และเปลี่ยนส่วนประกอบเป็นอะลูมินาซิลิเกต ช่วงอุณหภูมิดังกล่าวตัวเคลือบจะขยายตัว ในช่วงนี้ถ้าเพิ่มอุณหภูมิเร็วเกิดไปน้ำเคลือบจะแตกร้าว และร่อนออกจากชิ้นงาน
- อุณหภูมิ 570 – 600 oC ช่วงนี้เป็นช่วงที่วัตถุดิบในน้ำเคลือบขยายตัว ถ้าควบคุมการเผาไม่ดีตัวเคลือบอาจมีการแยกตัว
- อุณหภูมิมากกว่า 600oC ด้วยในน้ำเคลือบจะเติมสารลดอุณหภูมิการหลอม เรียกว่า ฟลักซ์ (flux) ฟลักซ์ประเภทตะกั่ว และบอแรกซ์ จะทำให้เคลือบหลอมตัวที่อุณหภูมิดังกล่าว เนื่องจากเคลือบตะกั่วสามารถละลายได้ในน้ำส้ม และเคลือบบอแรกซ์ สามารถละลายได้ในน้ำ ภาชนะเซรามิกส์ เผาเคลือบด้วยฟลักซ์ ดังกล่าวจึงเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ในปัจจุบันนิยมใช้เฟลด์สปาร์ (โพแตสเซียม) เป็นส่วนผสมของน้ำเคลือบ ซึ่งทำหน้าฟลักซ์ได้ดี นอกจากนี้ยังมีแร่และสารต่างๆ ที่ใช้ในการทำฟลักซ์ของน้ำเคลือบ ซึ่งแต่ละชนิดมีข้อดี และข้อจำกัดต่างกัน
- อุณหภูมิการสุกตัว หรืออุณหภูมิของการเคลือบ คือช่วงอุณหภูมิที่ตัวเคลือบหลอมตัวดีทั้งหมดหรือเรียกว่าสุกตัว
- ในกรณีที่เซรามิกส์ มีการวาดด้วยสี ก่อนการปิดทับด้วยน้ำเคลือบ การเผาเพื่อให้เกิดสีต้องเผาที่อุณหภูมิ ในช่วง 1,150 – 1,300oC