ข้าพเจ้า  นางสาวกุลธิดา ศานติบูรณ์  ประเภทบัณฑิตจบใหม่  ตำบลหินลาด
หลักสูตร : ID 03 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผาตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสืบสานศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาบ้านกรวด
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมและอาจารย์ประจำหลักสูตร  เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.00 น. ณ โรงเรียน บ้านกรวดวิทยาคาร

           ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ ทางคณะอาจารย์นัดประชุมรายละเอียดโครงการผ่านทาง Google Meet มีการชี้แจงเป้าหมายของโครงการ วัตถุประสงค์และขอบข่ายงานที่ต้องรับผิดชอบในแต่ละเดือนและทางคณะอาจารย์นัดประชุมพบปะกันในวันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์เป็นครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร ฟังบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของโครงการ รายละเอียดความเป็นมาเป็นไปของชุมชนบ้านกรวด ไปจนถึงประวัติของเครื่องเคลือบบ้านกรวดและประเพณีใหญ่ประจำชุมชนที่มีชื่อว่า  ประเพณีเครื่องเคลือบบ้านกรวด ต่อด้วยการเดินชมพิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวดที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร มีเครื่องเคลือบโบราณจัดแสดงให้ชมเป็นจำนวนมากหลังจากนั้นก็รับประทานอาหารกลางวันและแยกเข้ากลุ่มเพื่อปรึกษาวิธีการลงพื้นที่สอบถามข้อมูล

     

หลังจากได้มีการพูดคุยกับเพื่อนๆในกลุ่มข้าพเจ้าได้รับผิดชอบลงพื้นที่ในเขตพื้นที่หมู่ 2 หมู่ 6 และหมู่ 7 ในกลุ่มของข้าพเจ้ามีสมาชิกทั้งหมด 4 คน ได้มีการนัดลงพื้นที่ชุมชนครั้งที่ 1 ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 พวกเราเลือกหมู่บ้านหินลาดหมู่6 เป็นหมู่บ้านแรกในการลงพื้นที่ครั้งนี้ การเดินทางมีอุปสรรคเล็กน้อยเนื่องในวันดังกล่าวมีพายุเข้าทำให้ฝนตกตลอดทั้งวันแต่ก็ถือว่าเป็นโชคดีเพราะว่าทำให้ชาวบ้านหลายๆคนอยู่ในเขตพื้นที่ ในวันนั้นได้ทำการลงพื้นที่กรอกแบบฟอร์ม 01 และแบบฟอร์ม 02 หลายๆครัวเรือนให้ความร่วมมือกับการสัมภาษณ์เป็นอย่างดี พวกเราเลือกการเก็บข้อมูลโดยการถามตอบและจดลงในแบบสอบถามหลังจากนั้นพวกเรานำข้อมูลของแต่ละครัวเรือนมาบันทึกลงในเว็บที่ทางคณะส่งมาให้ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บข้อมูล

         

วิถีชีวิตของชาวบ้านตำบลหินลาดนั้น ผูกพันกับวิถีชีวิตเกษตรกรรม อาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่ก็จะเป็นด้านเกษตรกรรมและหัตถกรรม ภายในครัวเรือนมีการทำไร่ทำนาและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งทั้งหมดนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้อุปโภคบริโภคภายในครอบครัวและแบ่งจำหน่ายนอกชุมชน จากการที่ลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้มีโอกาสติดตามดูการทอผ้าของบ้านหลังหนึ่ง ภายในบ้านจะเริ่มทำกันเองตั้งแต่ขั้นตอนแรกไปจนถึงการจัดจำหน่าย ซึ่งผ้าไหม 1 ผืนจะใช้เวลาในการทอประมาณ 6-7 วันขึ้นอยู่กับลวดลายของผ้า การทอผ้านั้นนับเป็นการนำรายได้เข้าสู่ชุมชนอีกทางหนึ่งเลยก็ว่าได้เพราะผ้าไหมที่คุณภาพสูงมีมูลค่ามากเนื่องจากมีกระบวนการทำที่ซับซ้อน ผู้ทอต้องมีประสบการณ์ความประณีตและรักในการทอผ้า เมื่อทอเสร็จแล้วก็จะได้ผ้าไหมที่มีลวดลายสวยงามและพร้อมที่จะจัดจำหน่ายต่อไป

            

 

 

 

อื่นๆ

เมนู