สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อนางสาวนฤมล นิเวศสวรรค์ ปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงานตำบล ซึ่งได้ทำงานในพื้นที่ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์  ในเดือนเมษายนได้มีการจัดกิจกรรมอบรมปฏิบัติการเซรามิกส์เบื้องต้น (เดือน เมษายน) ของตำบลหินลาด ทั้ง 9 หมู่บ้าน ขึ้นที่ศาลากลางหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านละหานทรายเก่า  ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่ 8 การฝึกทักษะอาชีพ ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน

            การจัดอบรมปฏิบัติการเซรามิกส์เบื้องต้น (เดือน เมษายน)  ให้แก่ชาวบ้านตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้ง 9 หมู่บ้าน เริ่มแรกเมื่อตา ยาย ลุง พี่ ป้า น้า อา น้อง มาถึงที่ประชุมก็จะให้ลงทะเบียนก่อนเข้าการอบรม ตามด้วยการวัดไข้ จากนั้นชาวบ้านก็จะพากันไปนั่งตามโต๊ะที่ได้มีการจัดไว้ให้ สีหน้าและแววตาของชาวบ้านมีความตื่นเต้นมากที่จะได้ฝึกทักษะการปั้นดินเผา  เมื่อเข้าสู่ช่วงเวลาของการอบรมจะมีการบรรยายเกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผา ประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปั้นดินเผาอำเภอบ้านกรวด(งานเครื่องเคลือบพันปีประเพณีบ้านกรวด) ดินที่ใช้ในการปั้นเครื่องปั้นดินเผา(เป็นดินโรงอิฐของบ้านหินลาด) รวมไปถึงการสอนชาวบ้านให้รู้จักกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการตกแต่งลวดลายเครื่องปั้นดินเผา น้ำดิน(กาว) การจับดิน การปั้นดิน การกดดิน ให้เกิดเป็นรูปทรงต่างๆ ตามที่ชาวบ้านต้องการได้ โดยจะมีอาจารย์ นักศึกษา ประชาชน บัณฑิตจบใหม่เป็นผู้ให้ความรู้แก่ชาวบ้าน ลำดับต่อมาจะเป็นการพาปั้นแก้วน้ำ  โดยการหยิบดินมาพอประมาณตามที่มือเราจับได้ จากนั้นก็นวดดินเป็นทรงกรมเจาะรูตรงกลาง แล้วค่อย ๆ ใช้มือกดดินหมุนรอบไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้ทรงแก้วน้ำที่ต้องการ  ถ้ามีรอยแตกร้าวระหว่างผิวดินก็ใช้ฟองน้ำชุบน้ำเล็กน้อยแล้วใช้ปาดไปบนผิวของดิน เมื่อทำเสร็จแล้วก็สามารถใช้อุปกรณ์ตกแต่งลวดลาย  การปั้นกล่องใส่ดินสอ จะเริ่มจากการปั้นเป็นฐานทรงกลม จากนั้นก็นำไม้ลูกชิ้นทำเป็นรอยขีดรอบวงกลม นำน้ำดินมาทารอบบริเวณฐานทรงกลม ปั้นดินเป็นทรงยาวๆ ต่อกันหมุนรอบฐานทรงกลมในระกว่างรอยต่อนั้นจะทาน้ำดินเพื่อให้เนื้อของดินเชื่อมติดกันอีกด้วย สิ่งที่แรกที่ได้จากการปั้นดินเผาคือได้เห็นรอยยิ้มของชาวบ้าน เสียงหัวเราะระหว่างการทำกิจกรรม ความสนุกสนานเพลิดเพลิน พูดคุยกัน ทำให้ชาวบ้านได้เรียนรู้ถึงการปั้น การฝึกทักษะ การได้ฝึกกล้ามเนื้อมือ ระบบประสาท ความคิดจินตนาการในการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองขึ้นมาอย่างสวยงาม เพราะงานทุกชิ้นเกิดขึ้นล้วนออกมาจากจิตใจของผู้สร้างผลงาน และเกิดเป็นความภาคภูมิใจในการทำชิ้นงานด้วยฝีมือของตนเอง

            การอบรมทำให้ชาวบ้านได้ฝึกการสร้างอาชีพให้กับตนเอง เป็นการสานต่ออาชีพในสิ่งที่เคยมีมาตั้งแต่บรรพบุรุษปู่ย่า ตายาย  และทำให้เกิดเป็นอาชีพที่สามารถต่อยอดมาสู่รุ่นลูกหลานได้ การจัดอบรมทำให้เกิดความสุข ความสนุกสนาน ความสามัคคีในหมู่คณะ การพูดคุยในการสร้างสรรค์ผลงาน อีกทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำผลงานอีกด้วย

 

  • ภาพถ่ายกิจกรรมอบรมปฏิบัติการเซรามิกส์เบื้องต้น (เดือน เมษายน)  

 

  • ภาพถ่ายอุปกรณ์ในการทำเครื่องปั้นดินเผา

                         

                ดินเหนียว                                                       อุปกรณ์ในการตกแต่งการปั้นดินเผา     

 

     น้ำดิน (กาว)                                 น้ำเปล่า

 

  • ภาพในการทำกิจกรรมเครื่องปั้นดินเผา

 

  • ภาพถ่ายสำหรับการปั้นดินเผาสำเร็จแล้ว

 

                                          วีดีโอประจำเดือนเมษายน

 

อื่นๆ

เมนู