ชื่อบทความ : การขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผาด้วยมือ (ID03)

พื้นที่  :  ตำบลหินลาด  อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

ชื่อผู้เขียนบทความ : นางสาว พรปวีณ์ ง่วนทอง

ข้าพเจ้า นางสาว พรปวีณ์ ง่วนทอง ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ( ID03) ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงาน

เมื่อวันที่  7-9 เมษายน  2564  ณ ต.หินลาด อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ เพื่อจัดอบรมและให้ข้อพื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องเครื่องปั้นดินเผาโดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับมาตรฐานสินค้า OTOP ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ

ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ไปทำการจัดอบรม ในพื้นที่หมู่ที่ 2 บ้านละหารทรายเก่า ต.หินลาด อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์

เครื่องปั้นดินเผาบ้านกรวด เป็นเครื่องเคลือบดินเผาโบราณที่มีอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ในแถบอีสานตอนใต้ โดยเฉพาะในเขตอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ที่พบในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก และในพื้นที่ตำบลหินลาดยังมี แหล่งเตาเผาโบราณนายเจียน ตั้งอยู่ที่บ้านถนนน้อย ต.หินลาด อ.บ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี มี 2 เตา ชื่อเตาเผานายเจียน และเตาเผาสวาย และได้พบเครื่องเคลือบโบราณจำนวนมาก คนโบราณใช้เผาเครื่องปั้นดินเผา หม้อ ไห ต่างๆ

ลักษณะพื้นที่ที่พบเครื่องปั้นดินเผาพบหนาแน่นในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ และยังพบกระจายตัวในเขตพื้นที่อีสานตอนใต้ ที่มีภูมิประเทศติดอยู่กับประเทศกัมพูชา ทำให้เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากศิลปะเขมร หรือศิลปะลวปุระหรือลพบุรี มีลักษณะสำคัญคือ หนาและหนัก เนื้อแกร่ง นิยมตกแต่งด้วยการขูดขีดเป็นลวดลายต่างๆ และปั้นเป็นรูปสัตว์ เช่น นก ช้าง ไก่ เป็นต้น และนิยมเคลือบด้วยสีน้ำตาล

ในการอบรมครั้งนี้ได้อธิบายเกี่ยวกับวิธีการเตรียมต่างๆ เช่น การเตรียมดิน และอุปกรณ์ต่างที่ใช่ในการปั้นและยังอธิบายเกี่ยวกับ

-ประวัติเครื่องปั้นดินเผา

– และได้สอนการปั้นรูปต่างๆเช่น กระถาง  แก้ว

วัตถุดิบในการเตรียมเนื้อดินปั้น

ดินที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้มีส่วนประผสมของดินในตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยนำมาผสมกับดินดำ (ดินคอมพาวด์เค) ในอันตราส่วน ดินพื้นบ้าน 50%  ดินดำ (ดินคอมพาวด์เค) 50% เพื่อลดต้นทุนในการผลิต และยังได้ใช้วัตถุดิบในตำบล เพื่อต่อยอดให้ชาวบ้านต่อไป

ประเภทของเครื่องปั้นดินเผา

เครื่องปั้นดินเผาสามารถแบ่งออกได้หลายอย่างแตกต่างกันตามลักษณะต่างๆ เช่น แบ่งตามลักษณะของเนื้อดินและอุณหภูมิที่ใช้เผา แบ่งตามลักษณะการใช้ประโยชน์ แบ่งตามวิธีการผลิต แบ่งตามแหล่งผลิต การแบ่งเครื่องปั้นดินเผาออกเป็นลักษณะต่างๆ

เครื่องมือที่จำเป็นในการทำเครื่องปั้นดินเผา

1. เครื่องมือปั้น

– เครื่องมือตกแต่งผิว ทำด้วยไม้ ปลายทั้งสองข้างมีลักษณะแบน  กลมแหลม  และชนิดขรุขระก็มี มีประโยชน์ใช้สำหรับตกแต่งผิวให้เรียบและขรุขระตามต้องการ

-เครื่องขูดดิน   ด้ามทำด้วยไม้ตอนปลายทั้งสองข้างใช้ลวดโค้งเป็นวงรีและอีกด้านหนึ่งมีลักษณะปลายตัด  มีหลายขนาดใช้สำหรับ ขูดดิน  แต่งผิว  ขูดความหนาของผลิตภัณฑ์ให้สม่ำเสมอกัน

-เครื่องมือขูดดินมีคม ใช้สำหรับขูดผิว แต่งผิว  ให้มีรูปทรงตามต้องการ ตลอดจนแต่งก้นผลิตภัณฑ์ให้เรียบ

– เครื่องมือตกแต่งผลิตภัณฑ์

-แผ่นปูนปลาสเตอร์   ใช้เวลาขึ้นรูปต่าง ๆ

-ตู้เก็บผลิตภัณฑ์

-อ่างปูนปลาสเตอร์

-โต๊ะนวดดิน ควรออกแบบให้ใช้งานได้หลายอย่าง เช่น ชั้นบนใช้นวดดิน ชั้นล่างเก็บดิน

-ถังและอ่างน้ำ  ควรมีหลายขนาด ใช้แช่ดิน เก็บดิน

เครื่องปั้นดินเผาเป็นงานหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์มาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัยมนุษย์นำเครื่องปั้นดินเผามาใช้ในด้านเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน การก่อสร้าง ตลอดจนการใช้ประกอบในพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆการจัดอบรมในครั้งนี้เพื่อต้องการให้ชาวบ้านในท้องถิ่นเห็นถึงความสำคัญของเครื่องดินเผาที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตนเองและเพื่อเป็นการสืบทอดการปั้นให้เยาว์ชนหลังเพื่อให้งานปั้นดินเผายังคงอยู่และไม่จางหายไปตามกาลเวลา

อื่นๆ

เมนู