ข้าพเจ้า นายธีรภัทร อยู่สินธุ์

ประเภท : นักศึกษา ตำบลหินลาด

โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผา ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อสืบสานศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาบ้านกรวด

ข้าพเจ้านาย ธีรภัทร อยู่สินธุ์ นักศึกษาผู้ปฏิบัติงาน ได้รับมอบหมายให้ออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ(มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ข้าพเจ้าจึงได้ทำการออกแบบผลิตภัณฑ์และได้นำเคลือบที่มีความร่วมสมัย มาผสมลงบนชิ้นผลิตภัณฑ์

เนื่องด้วยสถานการณ์ Covid-19 จึงทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมและบันทึกข้อมูลในพื้นที่ ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ได้

ข้าพเจ้าและทีมงานจึงได้ออกแบบผลิตภัณฑ์โดยการสเก็ตชิ้นงานผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไปเป็นการทดลองเคลือบที่มีความร่วมสมัย สีสันสวยงามแต่ยังมีลวดลายดั้งเดิม และยังเป็นการอนุรักษ์เครื่องเคลือบดินเผาไว้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้คนสนใจมากขึ้น และสามารถทำได้ง่าย ซึ่งเคลือบชนิดนี้จะเป็นเคลือบบะซอลต์ซ้อนทับด้วยเคลือบคินโยจะทำให้เคลือบออกมาสีสันสดใส โดยบะซอลต์จะมีลักษณ์เป็นผงหินนำไปผสมกับเฟลด์สปาร์และดินดำ นำไปใส่ในหม้อบดขนาดเล็ก ข้างในหม้อบดจะประกอบไปด้วย วัตถุดิบที่เราเตรียม ลูกบด น้ำ และอากาศ นำไปเข้าเครื่องบด หนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที แล้วจะได้ออกมาเป็นน้ำเคลือบ และเคลือบคินโยจะมีส่วนผสมที่มากกว่าคือ โซดาเฟลด์สปาร์ หินปูน ทัลคัม แบเรียมคาร์บอเนต ดีบุกออกไซต์ โบนแอช ซิลิกา และคอปเปอร์ออกไซต์ และนำไปทำการบดเหมือนกับเคลือบบะซอลต์ ในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้ทำการเคลือบ 2 วิธี คือ การชุบและการเทลาด ตามลักษณะผลิตภัณฑ์ ขั้นตอนแรกจะนำชิ้นงานมาเช็ดทำความสะอาดโดยใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆและนำไปเช็ด เพื่อให้เคลือบเกาะติดได้ดี แล้วจึงนำเคลือบบะซอลต์มาชุบเป็นชั้นแรก หลังจากนั้นรอให้แห้ง จึงนำเคลือบคินโยมาทับซ้อน เมื่อแห้งข้าพเจ้าได้เช็ดเคลือบที่ติดตรงลวดลาย เพื่อให้เห็นลวดลายของชิ้นงานเพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์ลายบ้านกรวดไว้ และนำไปเผาที่อุณหภูมิ 1,230 องศาเซลเซียส เป็นเวลาสามชั่วโมงครึ่ง ผลออกมา เคลือบมีสีสันสดใสงดงาม

                                                

 

                                               

 

สรุปผลในการทดสอบเคลือบในครั้งนี้ ออกมาได้เป็นที่พอใจ และไม่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 เพราะได้ทำการทดสอบในอาคารที่ปิด และผู้ปฎิบัติงานไม่มากเกินไป

 

 

 

 

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู