ดิฉันนางสาวสุพัตรา กวางรัมย์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ สังกัดคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

หลักสูตร: การพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผา ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อสืบสานศิลปะเครื่องเคลือบดินเผาบ้านกรวด

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่ เก็บข้อมูลกับทีมงาน ตำบลหินลาด จังหวัดบุรีรัมย์ โดยทำการสำรวจตามข้อมูลทาง Application U2T  หัวข้อเกษตรกรในท้องถิ่น เป็นเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลัง  มันสำปะหลังเป็นไม้พุ่มยืนต้นมีอายุอยู่ได้หลายปี การปลูกมันสำปะหลังจะใช้ส่วน ของลำต้นตัดเป็นท่อนปักไปในดิน ตรงบริเวณรอยตัดที่ปักอยู่ในดินจะแตกเป็นราก ฝอย หลังจากปลูกได้ประมาณ 2 เดือนรากจะค่อยๆสะสมแป้ง และมีขนาดโตขึ้น เรียกว่าหัวมันสำปะหลัง และจะสามารถเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลังหลังจาก 6 เดือน ผ่านไปแล้วโดยจะยืดอายุเก็บเกี่ยวไปได้ถึง 16 เดือน ส่วนตาที่อยู่ด้านข้างท่อน มันจะเจริญเติบโตออกมาเป็นลำต้นต่อไป

พันธุ์ที่นิยมปลูกคือ มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 เดิมคือโคลนพันธุ์ CMR33-57-81หรือพันธุ์81 ที่เกษตรกรใช้เรียกกัน ซึ่งคัดได้จากการผสมข้ามระหว่างพันธุ์ระยอง 1 กับระยอง 5 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง พบว่าเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ในจังหวัดมหาสารคาม บุรีรัมย์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด นครราชสีมา และกาฬสินธุ์ โดยได้ผ่านการพิจารณาจากกรมวิชาการเกษตรให้เป็นพันธุ์พืชขึ้นทะเบียนเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2543 โดยให้ผลผลิตหัวสดสูงถึง 5.55 ตันต่อไร่ ผลผลิตแป้ง 1.23 ตันต่อไร่ และผลผลิตมันแห้ง 1.91 ตันต่อไร่ ท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกมีความงอกดี ไม่มีปัญหาของโรคต้นเน่า จนถึงระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยมีความอยู่รอดถึงการเก็บเกี่ยวสูง 92 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะลำต้นดี คือ ทรงต้นดี แตกกิ่งเล็กน้อย ในระดับที่สูงจากโคนต้น ประมาณ 1 เมตร ทำให้สามารถขยายท่อนพันธุ์ได้มากขึ้น

ส่วนใหญ่เป็นดินทราย พืชบางชนิดไม่สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูง ประกอบกับเกษตรกรไม่มีเงินลงทุน ดังนั้น มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 จึงเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ขาดฝนอย่างต่อเนื่องนาน 1-2 เดือน แต่ยังสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้อย่างเหมาะสม แม้บางช่วงจะมีปัญหาด้านคุณภาพผลผลิตต่ำเนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและยังมีศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง แมลงช้างปีกใส แต่เกษตรกรก็สามารถแก้ไขปัญหาได้

 

อื่นๆ

เมนู