สวนยางพารา กับ ที่นาของเรา
โดย นางสาวปรารถนา ซื่อจริง
โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
การทำงานในเดือนกรกฎาคมนี้ ทีมตำบลยังคงดำเนินการเก็บข้อมูลต่างๆ ในพื้นที่ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) จึงทำให้การลงพื้นที่สำรวจเกิดความลำบาก ทีมตำบลจึงแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 3 – 4 คน เพื่อความสะดวกในการลงพื้นที่ และไม่มีการรวมตัวกันเป็นหมู่มาก โดยบทความครั้งนี้ ข้าพเจ้าขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
เกษตรกร มีความหมายตรง ๆ ว่า ผู้ทำงานในที่ดินหรือที่นา หมายถึง ผู้ที่อาศัยที่ดินที่นา เพื่อเพาะปลูกพืชผล เลี้ยงสัตว์ ต่อมาขยายความรวมไปถึงผู้ที่ใช้แหล่งน้ำทำประมงด้วย อาชีพเกษตรกรก็ยังเป็นอาชีพที่จำเป็นเพราะผลผลิตจากเกษตรไม่ว่าจะเป็น ข้าว ยางพารา อ้อย มัน และสัตว์ ส่วนพืชอีกอย่างที่สำคัญรองมาจากการปลูกข้าว คือ ต้นยางพารา ในตำบลหินลาดมีการปลูกต้นยางพาราทุกหมู่บ้าน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญแก่คนในชุมชน
ต้นยางพารานั้นเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะน้ำยาง ซึ่งเป็นผลิตผลที่ได้จากท่อลำเลียงอาหารในส่วนเปลือกของต้นยางพารา สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท ตั้งแต่อุตสาหกรรมหนัก เช่น การผลิตยางรถยนต์ ไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือน น้ำยางที่ได้จากต้นยางพารา มีคุณสมบัติบางอย่างที่ยางสังเคราะห์ไม่สามารถทำให้เหมือนได้ ส่วนช่วงระยะเวลาที่กรีดยางนั้นบางพื้นที่กรีดตลอดทั้งปี และบางที่กรีดช่วงเดือนพฤษภาคม ไปจนถึงกุมภาพันธ์ ส่วนเวลาที่กรีดยางพาราก็จะเป็นช่วงเวลากลางคืน เพราะตอนกลางวันแดดร้อนคายน้ำมากน้ำสะสมในลำต้นน้อย ทำให้ต้นยางไม่ให้น้ำยางได้มากเท่าที่ควร ในขณะที่ตอนกลางคืนนั้น แดดไม่ร้อน ต้นยางสะสมน้ำมาก (ไม่คายน้ำทางใบ) ก็เลยให้น้ำยางมาก ผลผลิตที่ได้จากต้นยางพาราคือน้ำยางพารา ซึ่งพื้นที่ตำบลหินลาดนี้จะนิยมทำเพื่อจำหน่าย คือ ยางพาราก้อน หรือขี้ยางนั่นเอง
โดยการลงพื้นที่สำรวจผ่าน Application U2T ครั้งนี้ พบว่า เกษตรกรในท้องถิ่นนั้น มีการทำสวนยางพารา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญแก่คนในชุมชน รองจากการทำนา เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ เพื่อจุนเจือครอบครัวได้อาชีพหนึ่งเลยทีเดียว
วิดีโอของตำบล ประจำเดือนกรกฎาคม