ข้าพเจ้านางสาวศิริวิมล ดิบประโคน อยู่ในส่วนของกลุ่มของประชาชน ได้ลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ได้รับมอบหมายจากอารจารย์ประจำหลักสูตร ID03 ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในการลงพื้นที่สำรวจ ร้านค้า เก็บข้อมูลร้านอาหารในท้องถิ่น ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ผ่าน Application U2T ตามพื้นที่ในหมู่บ้าน ของตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังกวัดบุรีรัมย์
โดยการสำรวจในครั้งนี้ข้าพเจ้าและทีมงานได้ทำการสำรวจเกษตกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เกษตรกร มีความหมายตรง ๆ ว่า ผู้ทำงานในที่ดินหรือที่นา หมายถึง ผู้ที่อาศัยที่ดินที่นา เพื่อเพาะปลูกพืชผล เลี้ยงสัตว์ ต่อมาขยายความรวมไปถึงผู้ที่ใช้แหล่งน้ำทำประมงด้วย อาชีพเกษตรกรก็ยังเป็นอาชีพที่จำเป็นเพราะผลผลิตจากเกษตรไม่ว่าจะเป็น ข้าว ยางพารา อ้อย มัน และสัตว์ ส่วนพืชอีกอย่างที่สำคัญรองมาจากการปลูกข้าว คือต้นยางพารามีการปลูกต้นยางพาราในทุกหมู่บ้านในตำบลหินลาดซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญแกคนในชุมชน โดยการลงสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง มันสำปะหลังเป็นไม้พุ่มยืนต้นมีอายุอยู่ได้หลายปี การปลูกมันสำปะหลังจะใช้ส่วน ของลำต้นตัดเป็นท่อนปักไปในดิน ตรงบริเวณรอยตัดที่ปักอยู่ในดินจะแตกเป็นราก ฝอย หลังจากปลูกได้ประมาณ 2 เดือนรากจะค่อยๆสะสมแป้ง และมีขนาดโตขึ้น เรียกว่าหัวมันสำปะหลัง และจะสามารถเก็บเกี่ยวหัวมันสำปะหลังหลังจาก 6 เดือน ผ่านไปแล้วโดยจะยืดอายุเก็บเกี่ยวไปได้ถึง 16 เดือน โดยส่วนตาที่อยู่ด้านข้างท่อน มันจะเจริญเติบโตออกมาเป็นลำต้นต่อไป สำหรับประเทศไทยนั้น ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า มีการ นำมันสำปะหลังเข้ามาปลูกเมื่อใด แต่คาดว่ามีการนำมัน สำปะหลังมาจากประเทศมาเลเซียเมื่อปี 2329 โดยมีชื่อ เรียกในระยะต่อมาว่า มันไม้ และมันสำโรง คำว่าสำปะหลัง นั้นภาษามาเลเซียและอินโดนีเซียเรียกว่า Ubikayu แปลว่า พืชที่มีรากขยายใหญ่ และคล้ายกับภาษาชวาตะวันตกว่า สัมเปอ มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
- ชนิดหวาน (Sweet Type) เป็นมันสำปะหลังที่มีปริมาณกรดไฮโดรไซยานิคต่ำ ไม่มีรสขมใช้เพื่อการบริโภคของมนุษย์ มีทั้งชนิดเนื้อร่วนนุ่ม และชนิดเนื้อแน่น เหนียว แต่มีจำนวนน้อย
- ชนิดขม (Bitter Type) เป็นมันสำปะหลังที่มีกรดไฮโดรไซยานิคสูง เป็นพิษ และมีรสขม ไม่เหมาะสำหรับ การบริโภคของมนุษย์ หรือใช้หัวมันสำปะหลัง สดเลี้ยงสัตว์โดยตรง แต่จะใช้สำหรับอุตสาหกรรมแปรรูปต่างๆเช่น แป้งมัน มันอัดเม็ด และแอลกอฮอล์ เป็นต้น เนื่องจากมีปริมาณแป้งสูง มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศ ไทยส่วนใหญ่เป็นชนิดขมสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม
สรุปผลการสำรวจเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังพบผู้ทำอาชีพนี้จำนวนมากรองลงมาจากการปลูกข้าวส่วนปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ เนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและยังมีศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง แมลงช้างปีกใส แต่เกษตรกรก็สามารถแก้ไขปัญหาได้