ข้าพเจ้านาย สุรเดช ชินรัมย์
ประเภท : นักศึกษา
ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายการปฏิบัติงานจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ได้รับมอบหมายให้ทำการเผาดิบผลิตภัณฑ์ที่ชาวบ้านสร้างสรรค์ใว้ ตอนที่อบรมชาวบ้านของตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าและทีมงานนักศึกษาได้ลงพื้นที่ตำบลหินลาดเพื่อจัดเตรียมการเผาดิบ และการเผาเคลือบ เผาดิบเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2564 เพื่อเร่งทำการเผาเคลือบ โดยการเผาเคลือบผลิตภัณฑ์ครั้งต่อไปจะทำการอบรม หรือสาธิตการชุปเครื่อบผลิตภัณฑ์ และเเนะนำวิธีการเผาที่ถูกต้อง ในการเผาดิบในครั้งนี้คือเผาชิ้นงานที่ปั้นขึ้นรูปด้วยการ บีบ ขด ที่ชาวบ้านตำบลหินลาดลงมือปั้นสร้างสรรค์เอาใว้ การเผาเป็นหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญในการผลิต ด้วยการให้ความร้อนแก่เนื้อดินที่ผ่านการขึ้นรูปด้วยวิธีต่างๆ จะทำให้ชิ้นงานเปลี่ยนสภาพทั้งทางกายภาพ และทางเคมี กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน และรวมถึงความสวยงาม กระบวนการเผาเซอรามิกส์ มีหลายแบบขึ้นกับชนิดของเซรามิกส์ที่ผลิต ส่วนมากจะมีการเผาสองครั้ง เรียกว่าการเผาดิบ (biscuit firing) และเผาเคลือบ (glost firing) ในปัจจุบัน เตาเผา ที่นิยมใช้กันมากตามโรงงานผลิตเซรามิกส์ คือเตาแก๊ส และเตาไฟฟ้า โดยที่เตาแก๊สเป็นเตาเผาหลักที่ใช้ในการผลิต เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงไม่แพงมากนัก หาได้สะดวก และก่อให้เกิดมลภาวะน้อย ขณะที่เตาเผาไฟฟ้า ซึ่งสะอาด สะดวก และควมคุมอุณหภูมิภายในเตาได้ดีกว่า จะใช้ในการทบสอบคุณภาพของวัตถุดิบ และเนื้อดินเท่านั้น เนื่องจากต้นทุนการติดตั้ง และการผลิตสูง
การเพิ่มอุณหภูมิในการเผา
– การเผาด้วยอุณหภูมิต่ำในช่วงแรก
เมื่อเรียงชิ้นงานเข้าสู่เตาเผาแล้ว จะเริ่มการเผา ที่อุณหภูมิ 110 – 120 องศาเซลเซียส เพื่อทำให้น้ำ และ
ความชื้นที่อยู่ในชิ้นงานระเหยออกจากชิ้นงาน ซึ่งเมื่อชิ้นงานเผาผ่านอุณหภูมิดังกล่าวชิ้นงาน
จะแห้งสนิท
– การเพิ่มอุณหภูมิในช่วงที่สอง
ในการเผาดิบจะมีการเพิ่มอุณหภูมิเตา อย่างช้าๆ ที่อุณหภูมิ 120 – 350 องศาเซลเซียส น้ำที่อยู่ใน
โครงสร้างของกลุ่มแร่เคลย์ จะสลายตัว ทำให้กลุ่มแร่เคลย์เปลี่ยนเป็นสารประกอบอ๊อกไซด์
ในช่วงอุณหภูมิดังกล่าวชิ้นงานจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1 หากชิ้นงานมีความหนาไม่สม่ำ
เสมอชิ้นงานอาจจะมีการปริแตก หรือเรียกว่าชิ้นงานระเบิดในเตา
– การเพิ่มอุณหภูมิในช่วงที่สาม
ที่อุณหภูมิเตาเผา ในช่วง 350 – 450 องศาเซลเซียส น้ำที่อยู่ในสูตรแร่เคลย์ จะสลายตัวออกจากแร่เคลย์
จนหมด ช่วงอุณหภูมินี้มีความสำคัญ มีหลักที่ว่าต้องควบคุมให้อุณหภูมิภายในเตาเพิ่มขึ้น
อย่างช้าๆ (การเลี้ยงไฟ) จะทำให้ชิ้นงานหดตัวพร้อมกัน ไม่แตกร้าว
– การเพิ่มอุณหภูมิในช่วงที่สี่
เมื่ออุณหภูมิภายในเตาเผา มีค่า ประมาณ 570 องศาเซลเซียส ช่วงนี้ซิลิกาที่อยูในเนื้อดินจะมีการขยาย
ตัว ถ้าควบคุมอุณหภูมิภายในเตาไม่ดี ชิ้นงานจะร้าว
– การเผาอุณหภูมิสูงในช่วงที่ห้า เผาครั้งสุดท้าย
เมื่ออุณหภูมิภายในเตาเผา มากกว่าประมาณ 700 องศาเซลเซียส สารอินทรีย์ และซัลเฟอร์แบบต่างๆ ที่
อยู่ในเนื้อดิน จะเกิดการเผาไหม้ในช่วงนี้ ในกรณีใช้เตาเผาแบบปกติคือ เผาแบบอ๊อกซิเดชั่น
จะได้แก๊สคารบอไดออกไซด์ และแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ชิ้นงานที่ยังไม่ได้เผา
ขั้นตอนการเผาดิบ
การเผาสุกตัวแบบสมบูรณ์
สรุปผลการทำงานในครั้งนี้ได้ทำการเผาดิบเป็นไปตามการวางแผนเป็นที่เรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปคือการเเผาเคลือบ ซึ่งต้องเชิญคนในชุมชนหินลาดมาร่วมกิจกรรมนี้ แต่เกรงว่าจะมีผลกระทบต่อโรค Covid – 19 ทางทีมงานจะจัดประชุมวางแผนในเร็วๆนี้