สำรวจพืชในท้องถิ่นผ่าน Application U2T

ข้าพเจ้านางสาวเสาวรส แสนดี ประเภท กพร. รับผิดชอบพื้นที่ ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัด บุรีรัมย์ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) แล้วยังพบผู้ติดเชื้อภายในตำบลจึงทำให้การทำงานในช่วงนี้ค่อนข้างจะยากลำบาก ข้าพเจ้าและทีมงานได้ทำการวางแผนในการลงพื้นที่การทำงานผ่าน Application U2T  โดยการแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน เพื่อลดการรวมตัวกันเป็นหมู่มากเพื่อความปลอดภัยด้วย

โดยการสำรวจในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่สำรวจในกลุ่มของพืชในท้องถิ่น พืชที่มีหลักๆในท้องถิ่นเลยก็คือข้าว ซึ่งจะพบในเดือนพฤษภาคม-พฤศจิกายน เริ่มว่านข้าวช่วงพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนพฤศจิกายน นอกจากนี้ยังมีการปลูกมันสำปะหลังหรือที่คนในพื้นที่นิยมเรียกกันคือมันนา เพราะปลูกหลังจากช่วงที่เก็บเกี่ยวข้าวไปแล้ว ซึ่งจะเริ่มปลูกในเดือนธันวาคมไปจนถึงพฤษภาคมก็เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้แล้ว ดิฉันสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากชาวบ้านที่ปลูกมันสำปาหลังการเพิ่มผลผลิตของมันสำปาหลังต้องทำอย่างไรบ้าง ชาวบ้านให้ข้อมูลว่านอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดินร่วมกับการอนุรักษ์ดิน และการใช้พันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ดีแล้ว การจัดการดูแลดี โดยเริ่มตั้งแต่ ฤดูการปลูกที่เหมาะสม การเตรียมดินดี การเตรียมท่อนพันธุ์ปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสมตลอดจนการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม การกำจัดวัชพืชถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะการเอาใจใส่ในการเตรียมท่อนพันธุ์จะมีผลทำให้ความอร่อยของมันสำปะหลังสูงขึ้น โดยเฉพาะการเอาใจใส่ในการเตรียมท่อนพันธุ์จะมีผลทำให้อัตราความอยู่รอดของมันสำปะหลังสูงขึ้น พอถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยวมันสำปาหลังจะได้หัวมันที่ใหญ่ ดก สมบูรณ์ รูปร่างสวยไม่มีแมลงมากัดกิน จึงทำให้ผลผลิตที่ชาวบ้านนำไปขายได้รายได้มากยิ่งขึ้น

อื่นๆ

เมนู