ชื่อบทความ: เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา

ชื่อผู้ทำบทความ : ภัทสุดา ตาริก

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ข้าพเจ้าและทีมงานได้ทำการประชุมวางแผนในการลงพื้นที่การทำงาน ผ่าน Application U2T โดยการแบ่งออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน เพื่อลดการรวมตัวกันเป็นหมู่มากเพื่อความปลอดภัยด้วย

โดยการสำรวจในครั้งนี้ข้าพเจ้าและทีมงานได้เข้าไปเก็บข้อมูลเกษตรกรในท้องถิ่นตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เกษตรกรอาชีพที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ด้วยเมืองไทยเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยร่วมกับธรรมชาติอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อาชีพเกษตรกรจึงถือเป็นรายได้หลักมาอย่างช้านาน แม้ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่จำนวนมากจะเลือกเข้ามามองหางานทำในเมืองหลวงรวมถึงเลือกทำงานประเภทอื่น ๆ มากขึ้น แต่เกษตรกรก็ยังถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยสร้างผลผลิตให้กับคนไทยและอีกหลายล้านคนบนโลกมีอาหารดี ๆ ได้ทานเพื่อดำรงชีวิตอยู่ตลอด จริง ๆ แล้วอาชีพเกษตรกรสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ โดยมีประเภทของเกษตรกรดังนี้ ด้านการปลูกพืชผล ด้านปศุสัตว์ ด้านการประมง ด้านเกษตรแบบผสมผสาน และพืชที่ข้าพเจ้าสำรวจกลุ่มเกษตรกรหลักคือกลุ่มปูกยางพารา

ยางพารามีการปลูกต้นยางพาราในทุกหมู่บ้านในตำบลหินลาดซึ่งเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่สำคัญแกคนในชุมชน ต้นยางพารานั้นเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะน้ำยาง ซึ่งเป็นผลิตผลที่ได้จากท่อลำเลียงอาหารในส่วนเปลือกของต้นยางพารา สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท  ตั้งแต่อุตสาหกรรมหนัก เช่น การผลิตยางรถยนต์ ไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในครัวเรือน น้ำยางที่ได้จากต้นยางพารามีคุณสมบัติบางอย่างที่ยางสังเคราะห์ ไม่สามารถทำให้เหมือนได้ ส่วนช่วงระยะเวลาที่กรีดยางนั้นบางพื้นที่กรีดตลอดทั้งปี และบางที่กรีดช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกุมภาพันธ์ ส่วนเวลาที่กรีดยางพาราก็จะเป็นช่วงเวลากลางคืน เพราะตอนกลางวันแดดร้อนคายน้ำมากน้ำสะสมในลำต้นน้อยทำให้ไม่ให้น้ำยางได้มากเท่าที่ควร ตอนกลางคืนแดดไม่ร้อนต้นยางสะสมน้ำมาก(ไม่คายน้ำทางใบ)ก็เลยให้น้ำยางมาก ผลผลิตที่ได้จากต้นยางพาราคือน้ำยางพารา ซึ่งพื้นที่ตำบลหินลาดนี้จะนิยมทำเพื่อจำหน่ายคือยางพาราก้อนหรือขี้ยางนั้นเอง

อื่นๆ

เมนู