ข้าพเจ้านายธนกฤต พูนวิเชียร ( กลุ่มนักศึกษา ) ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ประจำเดือนเมษายน 2564
อาจารย์ประจำหลักสูตรและทีมงานผู้ปฏิบัติงาน ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของอำเภอบ้านกรวด ได้แก่ ตำบลหินลาด และตำบลบ้านกรวด เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติงานเครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น เพื่ออบรมทักษะความรู้ด้านต่างๆ ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านลักษณะเฉพาะถิ่น ด้านวัตถุประสงค์ในการผลิต ด้านกรรมวิธีในการผลิต ด้านขนาดสัดส่วน และด้านความสวยงาม เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน
” การพัฒนา ” ที่จะเพิ่มมูลค่าในตัวของผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตามกระบวนการผลิตยังมีปัญหาที่สำคัญคือ คุณภาพที่ไม่สม่ำเสมอของวัตถุดิบ และการสูญเสียในกระบวนการผลิต ทั้งในด้านพลังงานที่สูญเปล่า และผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพ รวมทั้งการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ มีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร ขาดองค์ความรู้ ในการที่จะนำวัตถุดิบที่มีอยู่มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีการจัดการ การออกแบบ และการควบคุมคุณภาพ ที่ผ่านมา
ข้าพเจ้าและทีมงานเริ่มเตรียมวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ ตั้งแต่วันที่ 1 – 5 เมษายน พ.ศ.2564 วัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จัดเตรียม ได้แก่ ดิน ไม้เเต่ง แป้นแต่ง แป้นหมุน โปสเตอร์ ถังน้ำ ฟองน้ำ เป็นต้น เพื่อใช้ในการอบรมเชิงปฎิบัติของชุมชน ก่อนการลงพื้นที่ปฏิบัติงานจริงในวันที่ 7 – 9 เมษายน พ.ศ.2564
วันที่ 7 – 9 เมษายน 2564 ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่อบรมเชิงปฎิบัติการเซรามิกส์เบื้องต้น ได้ทำการฝีกอบรมให้แก่ชาวบ้านในชุมชน โดยการแนะนำการขี้นรูปดินปั้นแบบพื้นฐาน ใช้ทักษะการขึ้นรูปแบบบีบกด การขึ้นรูปแบบแผ่น การขึ้นรูปแบบขดเป็นเส้น และการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ทักษะเหล่านี้ สามารถทำให้ชาวบ้านกล้าที่จะแสดงความสามารถและถ่ายทอด ความคิดสร้างสรรค์ผลงานของตนเองได้อย่างหลากหลาย และตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้เป็นลวดลายต่างๆ ตามความต้องการของตนเองได้อย่างสวยงามและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สรุป การอบรมเชิงปฏิบัติงานเครื่องปั้นดินเผาเบื้องต้น เพื่ออบรมทักษะความรู้ด้านลักษณะเฉพาะถิ่น ด้านวัตถุประสงค์ในการผลิต ด้านกรรมวิธีในการผลิต ด้านขนาดสัดส่วน และด้านความสวยงาม การขี้นรูปดินปั้นแบบพื้นฐาน ใช้ทักษะการขึ้นรูปแบบบีบกด การขึ้นรูปแบบแผ่น การขึ้นรูปแบบขดเป็นเส้น และการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ของการทำเครื่องปั้นดินเผา เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชาวบ้านในชุมชน ทำให้ชาวบ้านกล้าที่จะแสดงความสามารถและถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ผลงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป