ข้าพเจ้า นางสาวรัชนีกร  ถิ่นนคร ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ดำเนินงาน  ตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ 

หลักสูตร : โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการดำเนินงานมาถึงในเดือนกันยายน ซึ่งในเดือนนี้ทางข้าพเจ้าและทีมงาน รวมถึงอาจารย์จากคณะเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้จัดกิจกรรมขึ้นมา ชื่อว่า การอบรม โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาตำบลบ้านกรวด  ตั้งแต่วันที่ 27-30 กันยายน 2564

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา(COVID-19)  ทางอาจารย์และทีมงานบ้านกรวดจึงต้องแบ่งกลุ่มในการเข้าอบรมออกเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มละ  20 คน โดยแบ่งการจัดอบรมออกเป็น 4 วันเพื่อลดการรวมตัวกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

“เครื่องเคลือบดินเผา” อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ อารยธรรมล้ำค่าแต่โบราณที่มีการสืบทอดภูมิปัญญามาหลายชั่วอายุคน ปัจจุบันมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับยุคสมัยตรงกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น

 

                โดยมีอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์และการออกแบบ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เข้ามาช่วยอบรมให้ความรู้กับชาวบ้าน พร้อมจัดนิทรรศการแสดงเครื่องเคลือบดินเผาที่คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

เจ้าหน้าที่ดำเนินงาน จัดอบรมให้ความรู้ชาวบ้านในชุมชนในเรื่องของการเคลือบดิบเครื่องปั้นดินเผา และการเผา โดยมีนักศึกษา และอาจารย์เป็นผู้ให้ความรู้แก่ชาวบ้าน และสาธิตวิธีการทำเป็นแบบอย่างให้ชาวบ้าน โดยการนำชาวบ้านหมู่ละ5ท่าน ในตำบลบ้านกรวด เข้าร่วมอบรม โดยจะมีอาจารย์และนักศึกษาให้คำแนะนำและอธิบายลักษณะรูปแบบต่างๆ ของเคลือบเครื่องปั้นดินเผา

โดยมีอาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีเซรามิกส์และการออกแบบ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ เข้ามาช่วยอบรมให้ความรู้กับชาวบ้าน พร้อมจัดนิทรรศการแสดงเครื่องเคลือบดินเผาที่คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมดังนี้

ประเภทของเครื่องเคลือบดินเผา
ผู้เชี่ยวชาญได้แบ่งประเภทของเครื่องเคลือบดินเผาไว้หลายประเภท โดยจะสามารถแยกตามลักษณะของเครื่องเคลือบดินเผาได้ดังนี้
– รูปทรงประเภทโถ แบ่งเป็นโถทรงสูงและโถทรงเตี้ย
– รูปทรงประเภทตลับ มีฝาปิด เคลือบทรงเตี้ย บางชิ้นจำลองลักษณะเลียนแบบผลไม้
– รูปทรวงประเภทกระปุก เป็นแบบเนื้อแกร่ง เนื้อภาชนะสีขาว ปากผาย บานเตี้ยก้นภาชนะมีรอยขีดขดเป็นวงๆ มีลักษณะเป็นกระปุก คอสั้นและยาว ตรงกลางป่อง เคลือบกุเลนและเคลือบเข้ม
– รูปทรงประเภทถ้วย ชาม พบมากที่สุด มีเนื้อหยาบและเนื้อแกร่ง มีทำเคลือบสีอ่อนและสีเข้ม ไม่เคลือบก็มี รูปทรงมีหลายประเภท เช่น ถ้วยขนาดเล็ก ชาม ถ้วยรูปทรงต่างๆ
– รูปทรงคณโฑ ภาชนะทรงสูง คล้ายกระปุกหรือขวด แต่มีพวยกาตรงกลาง

นอกจากนั้นลักษณะของเครื่องเคลือบดินเผาที่พบยังมีการแบ่งตามแหล่งเตาเผา เช่น แหล่งเตาเผาบ้านถนนน้อย เตาเผาโบราณพันปีที่บ้านกรวด เตาเผาโบราณพันปีที่บ้านกรวดที่ค้นพบนี้ ตั้งอยู่ในเขตบ้านถนนน้อย ตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

เรียนรู้การการเผาเครื่องปั้นดินเผา

1.นำผ้าที่สะอาดมาเช็ดชิ้นงานก่อนที่จะชุบเคลือบสี 

2.หลังจากเช็ดเรียบร้อยแล้วก็นำชิ้นงานมาชุบเคลือบสีที่ต้องการ

3.วางชิ้นงานไว้รอทิ้งไว้แห้งและจึงนำไปใส่ในเครื่อง

4.การเผาเพื่อให้เกิดสีต้องเผาที่อุณหภูมิ ในช่วง 1,150 – 1,300 องศา

5.หลังจากนั้นเราก็รอจนชิ้นงานเย็นและนำออกจากเครื่องเผา

 

 

จากการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ครั้งนี้

จุดประสงค์การจัดฝึกอบรมให้กับชาวบ้าน เพื่อพัฒนาเพิ่มทักษะในการสร้างผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผารูปแบบใหม่ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละชิ้นงานเหมาะสำหรับนำไปใช้ในชีวิตประจำวันในปัจจุบัน ทั้งการตกแต่งบ้าน สวน และอาคารสถานที่ต่างๆ ตลาดมีความต้องการสูงนอกจากช่วยเพิ่มมูลค่าและรายได้แล้วยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิมให้คงอยู่คู่ชาวบ้านกรวดตลอดไป.

รวมรูปกิจกรรม

วิดีโอประจำเดือนกันยายน

 

 

 

 

อื่นๆ

เมนู