ข้าพเจ้านาย เจษฏากร  ฮาประโคน

ประเภท : นักศึกษา ตำบลบ้านกรวด

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับทีมงานตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09:00 น. เป็นต้นไป  ณ ต.บ้านกรวด อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ เพื่อเก็บข้อมูล โดยจะนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับการฝึกทักษะอาชีพ ตามโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบล แบบบูรณาการ เพื่อสร้างรากแก้วให้ประเทศ

อำเภอบ้านกรวดนั้นมีสถานที่แหล่งเตาเผามากมายหลายที่ เช่น  เตาสวาย เตานายเจียน  เป็นเตาเผาโบราณอายุประมาณ 1,000 ปี เป็นที่ผลิตเครื่องถ้วยศิลปะขอม ที่มีขนาดใหญ่ กรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นและสร้างอาคารครอบเตาไว้ ภายในมีนิทรรศการเครื่องเคลือบโบราณ และมีเศษเครื่องถ้วยที่ขุดพบบางส่วน ตั้งอยู่ที่บ้านโคกใหญ่ เทศบาลตำบลโนนเจริญ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

 

แหล่งอุตสาหกรรมผลิตภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบและเคลือบสีต่างๆ มีทั้งสีอ่อน        เช่น สีขาว สีเหลือง สีเขียวมะกอก และสีเข้ม เช่น สีน้ำตาล สีดำ ภาชนะดินเผาเหล่านี้ได้พบตามชุมชนโบราณและโบราณสถานต่างๆ เรียกกันในหมู่นักวิชาการบางท่านว่า “เครื่องถ้วยเขมร” พบเตาเผาเครื่องปั้นตั้งอยู่ตามแนวลำน้ำลำห้วย มีแหล่งใหญ่อยู่ที่อ.บ้านกรวด ซึ่งได้พบเตาเผาโบราณเหลือเป็นเนินดินอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ในตำบลต่างๆ ได้แก่ กลุ่มเตาบ้านน้อยถนนน้อย ต.หินลาด กลุ่มเตาบ้านโคกใหญ่ ต.โนนเจริญ กลุ่มเตาบ้านหนองคู ปัจจุบันเปิดแหล่งการเรียนรู้ชุมชนกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

 

 

จากการสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ครั้งนี้ เพื่อเกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด และ ชาวบ้านได้รับผลประโยชน์และนำไปต่อยอดเพื่อสร้างรายได้เสริมและประกอบอาชีพได้ต่อไปในอนาคตได้และสร้างอาชีพเสริมหรือประกอบอาชีพเพื่อรายได้ของชาวบ้านต่อไป

 

อื่นๆ

เมนู