โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตําบลแบบบูรณาการตําบล บ้านกรวด
ข้าพเจ้านายวรพงษ์ อ้วนเสมอ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ รับผิดชอบตําบลบ้านกรวด
ตําบลบ้านกรวด ประกอบด้วยหมู่บ้าน 16 หมู่บ้านข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ และทําการสํารวจรวบรวมเก็บข้อมูล แบบฟอร์ม 01,02 ในพื้นที่โดยสอบถามจากผู้นําชุมชน ผู้ที่อาศัยอยู่ใน ชุมชนตําบลบ้านกรวด โดยนําข้อมูลที่ได้มาใช้พัฒนาชุมชนทั้งทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
ภาพการประชุมเพื่อชี้แจงการทํางานและการดูงานนอกสถานที่
เมืองโลหกรรมลือเลื่อง เครื่องเคลือบโบราณ ตํานานแหล่งหินตัด ทิวทัศน์ช่องโอบกงามตา เขื่อนเมฆา
เย็นสบาย ชายแดนพนมดงรัก คําขวัญประจําอําเภอบ้านกรวด
เครื่องปั้นดินเผาที่พบบริเวณอําเภอบ้านกรวด
หากเราดูจาก คําขวัญของอําเภอบ้านกรวดแล้ว คงจะเดาได้ไม่ยากว่าบ้านกรวดมีอะไรดี มีอะไรเด่น ก่อน จะไปรู้ว่าบ้านกรวดมีดีตรงไหนบ้าง เรามาทําความรู้จักบ้านกรวดกันดีกว่าอําเภอบ้านกรวดเป็นอําเภอหนึ่งใน จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ติดกับชายแดนประเทศกัมพูชา มพี รมแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นด่านถาวร คือ ด่านสายตะกู ตําบลจันทบเพชร
จุดชมวิวพรมแดนธรรมชาติ ช่องโอบก จุดชิมวิวผาก้าวสัมพันธ์ จุดชมวิวผาตารุ่ง อีกทั้งยังมีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์ คือติดกับอําเภอพนมดงรัก เนื่องจากเป็นอําเภอที่ติดกับชายแดน ของประเทศกัมพูชา ทําให้ภูมิศาสตร์ของอําเภอบ้านกรวดจึงมีภูมิศาสตร์ที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน ซึ่งจาก การศึกษาประวัติศาสตร์บริเวณอําเภอบ้านกรวดนี้ มีการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่ง ภูมิศาสตร์ของอําเภอบ้านกรวดเหมาะแก่การอยู่อาศัยมีแหล่งน้ํา มีภูเขามีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ซึ่ง เป็นปัจจัยที่เหมาะสมในการดํารงชีวิต สืบเนื่องกันต่อๆมา ตั้งแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ด้วย เหตุนี้จึงมีร่อยรอยของสมัยก่อนประวัติศาสตร์หลงเหลืออยู่จํานวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปั้นดินเผา แหล่งหิน ตัด โบราณสถานต่างๆ แหล่งถลุงเหล็กแหล่งเตาเผาโบราณ ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งเตาเผาที่ใหญ่มากในสมัยก่อน ประวัติศาสตร์ ซึ่งพบเห็นได้มากในอําเภอบ้านกรวด อีกทั้งแนวภูเขาที่ทอดตัวยาวขนานมา ทําให้มีภูมิศาสตร์ที่ เหมาะแก่การทําเขื่อนกักเก็บน้ํา ซึ่งน้ําเป็นปัจจัยสําคัญในการดํารงชีวิตของประชาชน จากภูมิศาสตร์นี้เอง ถึง ได้มาเป็นคําขวัญของอําเภอบ้านกรวด แห่งนี้ ประวัติศาสตร์ของอําเภอบ้านกรวดแห่งนี้ยังมีอีกมาก ตั้งแต่การ สู้รบกับเขมรแดง การอพยพของคนถิ่นฐานอื่นเข้ามา การเปลี่ยนแปลงการประกอบอาชีพ จนกระทั่งวัฒนธรรม ภูมิปัญญา การทําเครื่องปั้นดินเผาก็ได้ค่อยเลือนหายไปจากชุมชน การประกอบอาชีพก็เน้นใช้เครื่องจักร ทําให้ มีการบุกรุกป่ามากขึ้น การเข้ามาของเทคโนโลยี การคมนาคมที่สะดวกมากขึ้นทําให้ป่าหมดไวขึ้น ทําให้ วิถีชิต ดั้งเดิมถูกปรับเปลี่ยนไปให้ทันยุคทันสมัยมากยิ่งขึ้นทําให้วัฒนธรรมต่างๆภูมิปัญญาก็เลือนลางไปจนหมด จาก การลงพื้นที่ตําบลบ้านกรวด ยังพบปัญหาด้านอื่นๆอีกมาก อาทิเช่นการศึกษา การอยู่อาศัย ตลอดจนการ ดําเนินชีวิตของคนในตําบลบ้านกรวดเอง มีการปรับตัวมากขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 ทําให้ การประกอบอาชีพต่างๆมีปัญหา ตลอดจนการว่างงานของคนในชุมชนก็มากขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19
ภาพการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสํารวจความเป็นอยู่ของชุมชน
หากพูดถึงจุดเด่นด้านภูมิศาสตร์ ด้านประวัติศาสตร์ ด้านสังคม อําเภอบ้านกรวด ก็ถือเป็นดาวเด่น อําเภอหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ที่มีความน่าสนใจไม่น้อย หากได้รับการดูแล การพัฒนารวมถึงการเข้าถึงข้อมูลของ ประชนในพื้นที่ มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาต่างๆและตอ่ ยอดการพัฒนาผลผลิตทําการตลาดที่ ดี ก็จะลดอัตราการว่างงาน ตลอดจนการสร้างรายได้ให้กับชุมชน และคนในครอบครัวได้มาก ไม่ต้องไปทํางาน ต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้จะทําให้ชุมชนน่าอยู่ ทุกคนสามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างมีความสุข
บรรยากาศระหว่างลงพื้นเก็บข้อมูล