การฝึกอบรมอาชีพและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผา ต.หินลาด อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์
ข้าพเจ้า นางสาวนันทิกานต์ พูนแสง ประเภทประชาชน ต.บ้านกรวด อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ
วันที่ 8-10 เมษายน พ.ศ.2564 ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเซรามิกส์เบื้องต้นให้แก่ชาวบ้านผู้ที่ว่างงานในเขตตำบลหินลาด อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งอาจารย์ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้เตรียมดินและแป้นหมุนเพื่อนำมาให้ผู้ที่มาอบรมได้ฝึกปฏิบัติการปั้นดินและการขึ้นรูปดินให้เป็นทรงเพื่อที่จะได้นำไปเผา ในเตาเผาที่ทางมหาวิทยาได้นำมาติดตั้ง ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ในตำบลบ้านกรวด ลักษณะเครื่องเครือบดินเผาในอำเภอบ้านกรวดเป็นเครื่องเคลือบดินเผาที่มีลักษณะ จุดเด่น และเสน่ห์เฉพาะตัว ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผาเคลือบสีเขียวใสซึ่งมีทั้งชามและโถพร้อมฝา เนื้อดินปั้นสีขาวนวลละเอียด ทั้งมีน้ำเคลือบที่เรียบเสมออย่างสวยงาม กับที่มีลายแตกราน ตามเส้น ลายจะมีสีน้ำตาลอ่อน สำหรับชามเคลือบสีเขียวใสเรียบเสมอ พบว่าบริเวณขอบล่าง เหนือก้นชามบางใบจะเคลือบสีน้ำตาลใส ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่แปลกไปจากแหล่งอื่น ชามเคลือบสีเขียวจะเคลือบสีน้ำตาลใสเคลือบทั้งด้านนอกและด้านใน รวมทั้งเคลือบ บริเวณก้นชามด้านนอกด้วย แต่บางใบก็ไม่เคลือบก้น นอกจากชามก็มี ตลับ กระปุก และโถพร้อมฝาสำหรับการประดับฝาของโถจะพบว่า รอบๆ ส่วนที่เป็นยอดจุกนั้น จะประดับด้วยแนวเส้นที่ลดหลั่นกันสามชั้น ซึ่งชั้นล่างสุดจะเป็นรูปกลมเล็กๆ คล้าย กระดุมขนาดเล็กตรงกลางมีจุดเล็กๆ วงกลมนี้จะประดับเรียงกันเป็นแนวรอบวงกลม โถประเภทนี้แม้ว่าด้านนอกจะเคลือบสีเขียวใส แต่ด้านในจะปาดด้วยน้ำเคลือบสีน้ำตาล บางๆ
เครื่องเคลือบดินเผาที่ผลิตจากแหล่งเตาเผาโบราณต่างๆ ในอำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่จะผลิตเครื่องเคลือบที่มีลักษณะคล้ายๆ กันไม่ว่าจะเป็น รูปแบบของภาชนะ ลักษณะของเนื้อดินปั้น และสีของน้ำเคลือบ โดยที่จะมีลักษณะ แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ดีแหล่งเตาเผาแต่ละแหล่งนั้นอาจจะเน้นการผลิต รูปแบบใดมากน้อยต่างกัน บางเตาอาจจะผลิตพวกเครื่องปั้นดินเผาพวกเคลือบ สีเขียวใสมากกว่าพวกเคลือบสีน้ำตาล เช่นเตานายเจียน แต่บางแหล่งอาจผลิตพวก เคลือบสีน้ำตาลมากกว่า หรือบางแหล่งอาจผลิตพวกไม่เคลือบมากกว่า แต่สรุปได้ว่า ทุกแหล่งเตาเผาจะผลิตของคล้ายกันเกือบทุกประเภท เช่น ตลับทรงฟักทอง ตลับ ลูกพลับ กระปุกขนาดเล็ก กระปุกรูปนก ประติมากรรมรูปสัตว์ เช่น แพะ ช้าง ม้า กระต่าย ซึ่งมีทั้งแบบตันเป็นรูปสัตว์จริงๆ หรือทำเป็นกระปุกหรือกาน้ำ นอกจากนี้ มีชามตะคันทรงชาม โถทรงโกศ โถทรงแตง ไหเท้าช้าง ไหไม่มีเชิงขนาดต่างๆ ตั้งแต่ สูง 30-80 เซนติเมตร ไหเหล่านี้บางครั้งก็ประดับเป็นรูปหน้าคนที่ส่วนคอไห หรือ บางครั้งก็ประดับด้วยรูปหัวช้าง หัวม้า หรือหัวกวาง ตามบริเวณไหล่ของไห นอกจาก นี้ลักษณะการตกแต่งภาชนะมีทั้งการใช้ลายกลีบบัว ลายขูดขีด ลายกากบาทชั้นเดียว ลายกากบาทสองชั้น ลายซิกแซก ลายเส้นคดโค้ง ลายคลื่น ลายโค้งแบบระย้า และ ลายหวี ซึ่งเครื่องปั้นดินเผาที่นี้จะขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนด้วยรอยในเนื้อดินปั้น
ลักษณะเป็นลายหมุนเวียนขวาซึ่งเกิดจากการใช้แป้นหมุนอย่างเด่นชัด ส่วนลวดลาย พิเศษที่ใช้ประดับ เช่น รูปหัวช้าง หัวม้า หรือรูปศีรษะคน และบางครั้งก็เป็นภาพเล่า เรื่องชีวิตประจำวัน เช่นการล่าหมูป่า หรือเป็นภาพแสดงพิธีกรรมบางอย่าง จะใช้แม่ พิมพ์กดออกมาแล้วนำมาติดเข้ากับตัวภาชนะ กระปุก ไห หรือคนโทที่ขึ้นรูปไว้แล้ว จากนั้นจึงชุบน้ำเคลือบและน้ำเข้าเตาเผา เผาด้วยอุณหภูมิที่ 1,100-1,300 องศาเซลเซียส
ภาพกิจกรรม
วิดีโอประจำเดือนเมษายน 2564