ข้าพเจ้าภูมิไทย ชนะชัย ประเภทบัณฑิตจบใหม่ รับผิดชอบตําบลบ้านกรวดตําบลบ้านกรวด ประกอบด้วยหมู่บ้าน 16 หมู่บ้านข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่หมู่ 5 ตำบลบ้านกรวดและทําการสํารวจรวบรวมเก็บข้อมูล แบบฟอร์ม 01,02 โดยสอบถามชาวบ้านในชุมชน โดนส่วนมากแล้วจะเป็นผู้สูงอายุ ลูกหลานออกไปทำงานหมด ทำให้การสอบถามเป็นไปได้ไม่เต็มที่ ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพรับจ้างทั่วไปและเกษตรกร
ประวัติความเป็นมาของศูนย์แหล่งเรียนรู้ พิพิธภัณฑ์อำเภอบ้านกรวด จากการรายงานของศิลปากร พบว่า อำเภอบ้านกรวดมีแหล่งเตาเผา เครื่องเคลือบโบราณอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ประมาณ 100 เตา แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรือง ความชาญฉลาด และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ชาวบ้านอำเภอบ้านกรวดซึ่งได้สร้างสรรค์งานศิลปะเอาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เห็นเป็นศิลปวัตถุที่ทรงคุณค่า มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากแหล่งอื่นๆ เครื่องเคลือบดินเผาโบราณทีอำเภอบ้านกรวด เป็นอารยธรรมตั้งแต่สมัยขอมที่มีอายุมากกว่า 1,000 ปี พ.ศ.2524 โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร โดยนางสุวรรณา บาลโสง และคณะร่วมกับชุมชน เริ่มจัดเก็บรวบรวมสะสมเครื่องเคลือบดินเผาที่มีอยู่มากในเขตพื้นที่อย่างจริงจัง หลังการค้นคว้า พิสูจน์ คำนวณอายุของกรมศิลปากร ทำให้ชุมชนได้ตะหนักเล็งเห็นคุณค่าและความสำคัญของวัตถุโบราณ เครื่องเคลือบดินเผาซึ่งมีประโยชน์ต่อการศึกษาแหล่งอารยธรรมต่างๆ ของชาติไทย จนกระทั่งในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจึงได้จัดตั้งให้โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร เป็นศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านกรวดนับตั้งแต่นั้นมา