ตำบลจันทบเพชรเป็นอีกหนึ่งตำบลที่มีการจัดระบบผังเมืองที่ดี โดยสังเกตุได้จากภาพถ่ายทางดาวเทียว มีหลายหมู่บ้านที่ลักษณะของผังเมืองเป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น ผังเมืองรูปวงกลม,ผังเมืองรูปวงรี,ผังเมืองรูปสี่เหลี่ยม เป็นต้น และการวางแผนผังในการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนผังการคมนาคมและขนส่ง แผนผังสาธารณูปโภค และแผนผังสาธารณูปการโดยมีแนวทางในการวางแผนผังในแต่ละองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

1. การวางแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน

จําแนกออกเป็นย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่สําคัญ ได้แก่ ย่านที่อยู่อาศัย ย่านพาณิชยกรรม ย่านอุตสาหกรรม และย่านเกษตรกรรมจะ
กําหนดโดยการพิจารณาจากสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบัน ประกอบกับการศึกษาวิเคราะห์
แนวโน้มและศักยภาพตลอดจนเงื่อนไขและข้อจํากัดในการพัฒนาในแต่ละบริเวณดังนี้

1.1 ย่านที่อยู่อาศัย
ย่านที่อยู่อาศัย จะกําหนดให้มีพื้นที่พอเพียงต่อการรองรับจํานวนประชากรของเมือง
โดยมีที่ตั้งในบริเวณพื้นที่ที่มีความเหมาะสมด้วยคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีสภาพพื้นที่ที่ไม่ลาดชันจนเกินไป
และเป็นบริเวณที่มีความปลอดภัยจากอุทกภัยและภัยธรรมชาติอย่างอื่น

แสดงผังการใช้ประโยชน์ย่านที่อยู่อาศัย

1.2 ย่านพาณิชยกรรม
ย่านพาณิชยกรรมจะกําหนดให้มีพื้นที่พอเพียงต่อการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจใน
ด้านธุรกิจการค้า และการบริการ จึงควรมีที่ตั้งที่สะดวกต่อการเข้าถึงจากบริเวณพื้นที่อื่นๆของเมือง
นอกจากนี้ยังควรเป็นบริเวณที่มีสภาพพื้นที่ไม่ลาดชัน และมีความปลอดภัยจากอุทกภัย และภัยทาง
ธรรมชาติอย่างอื่น

แสดงผังการใช้ประโยชน์ย่านพาณิชยกรรม

1.3 ย่านอุตสาหกรรม
ย่านอุตสาหกรรม มีพื้นที่พอเพียงต่อการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ในด้านการผลิตทางอุตสาหกรรม จึงควรมีที่ตั้งที่สะดวกในการขนส่งวัตถุดิบและสิ่งผลิต

แสดงผังการใช้ประโยชน์ย่านอุตสาหกรรม

1.4 ย่านเกษตรกรรม
ย่านเกษตรกรรม จะกําหนดในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของสภาพทางธรรมชาติและ
มีสภาพพื้นที่เหมาะสมกับกิจกรรมทางการเกษตรแต่ละประเภท ได้แก่ การกสิกรรมการปศุสัตว์ และการ
ประมงหรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา เป็นต้น

แสดงผังการใช้ประโยชน์ย่านเกษตรกรรม

2 การวางแผนผังการคมนาคมและขนส่ง
การวางแผนผังการคมนาคมและขนส่งภายในเมือง จะมุ่งเน้นการคมนาคมและขนส่งทางบก
โดยรถยนต์เป็นหลัก

2.1 ถนนสายหลักหรือถนนสายประธาน (Major Arterial) เป็นถนนที่มีบทบาทหน้าที่
เชื่อมโยงระหว่างย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินต่างๆ ตามที่ได้กําหนดเป็นย่านที่อยู่อาศัย ย่านพาณิชยกรรม
และย่านอุตสาหกรรม และเชื่อมโยงกับทางหลวง ที่มีบทบาท
หน้าที่ในการเชื่อมโยงการคมนาคมและขนส่งระหว่างเมือง

2.2 ถนนสายรอง (Collector หรือ Secondary Road) เป็นถนนที่มีบทบาทหน้าที่ในการ
เชื่อมโยงการคมนาคมและขนส่งระหว่างถนนสายหลักกับพื้นที่ภายในย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่
ได้กําหนดเป็นย่านที่อยู่อาศัยย่านพาณิชยกรรม และย่านอุตสาหกรรม

2.3 ถนนสายย่อย (Local Road) เป็นถนนที่มีบทบาทหน้าที่ในการเชื่อมโยงจากถนนสาย
รองให้เกิดการเข้าถึงพื้นที่ภายในย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้กําหนดเป็นย่านที่อยู่อาศัย ย่าน
พาณิชยกรรม และย่านอุตสาหกรรม ขนาดและระยะระหว่างถนนสายหลักหรือถนนสายประธาน ถนน
สายรองและถนนสายย่อยรวมทั้งทางเดินและทางเท้า สมควรให้เป็นไปตามมาตรฐานถนน ทางเดิน และ
ทางเท้าของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

แสดงผังถนนสายหลัก ถนนสายรอง ถนนสายย่อย ที่เชื่อมโยงการคมนาคมในตำบลจันทบเพชร

-เส้นสีแดงแสดงถนนสายหลัก

-เส้นสีส้มแสดงถนนสายรอง

-เส้นสีเหลืองแสดงถนนสายย่อย

3 การวางแผนผังสาธารณูปโภค

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรวางแผนผังสาธารณูปโภคโดยอาศัยมาตรฐานทางวิศวกรรม
ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ดังนี้
3.1 มาตรฐานไฟฟ้าสาธารณะ
3.2 มาตรฐานการบําบัดน้ําเสียกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
3.3 มาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
3.4 มาตรฐานอ่างเก็บน้ําและเขื่อนขนาดเล็ก
3.5 มาตรฐานทางระบายน้ํา

การวางแผนผังสาธารณูปโภคควรพิจารณาสภาพภูมิประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาพความ
ลาดเอียงของพื้นที่และทิศทางการไหลลงของน้ํา เพื่อให้การให้บริการประปาและการรวบรวมน้ําเสีย
สามารถอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกแทนการใช้พลังงานไฟฟ้าหรือน้ํามันเชื้อเพลิง

4. การวางแผนผังสาธารณูปการ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรวางแผนผังกําหนดที่ตั้งของสาธารณูปการ ได้แก่การ
ให้บริการด้านการศึกษา สาธารณสุข และนันทนาการ โดยพิจารณาถึงระดับและรัศมีการให้บริการที่
สอดคล้องกับแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินที่กําหนดเป็นย่านที่อยู่อาศัยตามความหนาแน่นต่างๆ ย่าน
พาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม ดังนี้
4.1 การให้บริการด้านการศึกษา
การให้บริการด้านการศึกษาอาจจําแนกความเหมาะสมของขนาดพื้นที่และรัศมีการ
ให้บริการตามระดับการศึกษาดังนี้

ระดับการศึกษาจําแนกตามขนาดพื้นที่และรัศมีบริการ

ระดับอนุบาล พื้นที่ (1 ไร่) รัศมีการให้บริการ (0.5 กม.)

ระดับประถม พื้นที่ (5 ไร่) รัศมีการให้บริการ (2 กม.)
ระดับมัธยม พื้นที่ (20 ไร่) รัศมีการให้บริการ (5 กม.)

ระดับอุดมศึกษา พื้นที่ (50 ไร่) รัศมีการให้บริการ (10 กม.)

แสดงผังสถานการศึกษาและรัศมีการบริการ

สีแดงแสดงโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

สีส้มแสดงโรงเรียนระดับประถมศึกษา

สีเหลืองแสดงโรงเรียนระดับอนุบาล

4.2 การให้บริการด้านสาธารณสุข
การให้บริการด้านสาธารณสุขอาจจําแนกความเหมาะสมของขนาดพื้นที่และรัศมีการ
ให้บริการในแต่ละระดับ ดังนี้
ระดับการบริการสาธารณะสุขจําแนกตามขนาดพื้นที่และรัศมีการให้บริการ

ระดับศูนย์หรือสถานีอนามัย พื้นที่ (5 ไร่) รัศมีการให้บริการ (5 กม.)

ระดับโรงพยาบาล พื้นที่ (20 ไร่) รัศมีการให้บริการ (10 กม.)

แสดงผังการให้บริการด้านสาธารณะสุขในรัศมีที่ใกล้เคียง

4.3 การให้บริการด้านนันทนาการ
การให้บริการด้านนันทนาการ สามารถจําแนกความเหมาะสมของขนาดพื้นที่และรัศมี
การให้บริการดังนี้
ระดับสวนสาธารณะ จําแนกตามขนาดพื้นที่และรัศมีการให้บริการ

ระดับสวนสาธารณะระดับชุมชน พื้นที่ (10 ไร่) รัศมีการให้บริการ (1 กม.)

ระดับสวนสาธารณะระดับย่าน พื้นที่ (50 ไร่) รัศมีการให้บริการ (5 กม.)

ระดับสวนสาธารณะระดับเมือง พื้นที่ (100 ไร่) รัศมีการให้บริการ (10 กม.)

แสดงผังการให้บริการด้านนันทนาการในรัศมีที่ใกล้เคียง

อื่นๆ

เมนู