ข้าพเจ้า นางสาวประภัทรษา จันทร์สระบัว ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์    ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่หมู่บ้านในตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อสำรวจสภาพชุมชนและเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชน        

ในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้นำเรื่องราวเกี่ยวกับการจับปลาขาย หรือนำมาประกอบอาหาร และแปรรูปไว้รับประทาน เพื่อลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน ด้วยวิธีการสูบปลาล้างบ่อ ของชาวบ้านใน 1 ปีจะมีการสูบปลาแค่ครั้งเดียว หลังการเก็บเกี่ยวฤดูทำนา หรือก่อนหน้าฝนในช่วงเมษายน (เทศกาลวันสงกรานต์) จะทำการสูบปลามากินกันครั้งใหญ่ หรือไม่หลัก ๆ ก็จะอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ส่วนมากก็ชอบสูบปลาราวๆช่วงปีใหม่เพื่อนำปลามาเผากินและขาย โดยจะมีการตั้งสูบในช่วงเช้าหรืออาจจะตั้งข้ามคืนเนื่องจากปริมาณของน้ำในแต่ละสระนั้นๆ

สูบปลา ภาษาอีสานก็คือ เป็นวิธีการจับปลาโดยการดูดเอาน้ำออกจากบ่อน้ำ บ่อปลา โดยเรียกรวมๆว่า สูบปลานั่นเองค่ะ แล้วใช้อะไรในการดูดน้ำออก ใช้นี่เลยค่ะ ภาษาอีสานเรียกว่า หางนาค หางพญานาคพ่วงติดกับรถไถนาเดินตามเข้ากับสายพาน ติดเครื่องรถไถดังภาพด้านบน

อาจจะใช้ เครื่องเบนซิน เป็นตัวช่วยในการดูดน้ำให้เร็วขึ้น หรือดูดน้ำในจำนวนที่น้อยๆ ที่หางนาคไม่สามารถลงถึงก้นบ่อได้

 

พอน้ำแห้งก็ทำการลงจับปลาได้เลย

 

             

ปลาที่ได้มา คือ ปลาที่ซื้อเลี้ยงตั้งแต่ตัวยังเล็ก1-2นิ้ว โดยการให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปสลับกับการเลี้ยงตามธรรมชาติ

คัดปลา แยกชนิดออกเพื่อจำหน่ายและแปรรูปไว้รับประทานในครัวเรือน เช่น ทำส้มปลา ปลาจ่อม ปลาตากแห้ง ปลาร้า ฯลฯ  (ราคาขายแล้วแต่ช่วงนั้นๆ อาจขายในราคาที่ต่ำกว่าตลาดนิดหน่อย เพื่อให้ขายง่ายขึ้น )

   ปลาสดๆเผากินรสชาติคือยอดเยี่ยมเลยทีเดียว

   ทั้งนี้ เป็นช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อCovid-19 หลายๆครอบครัวมีการเซฟรายจ่ายมากยิ่งขึ้น สิ่งไหนที่อยู่รอบตัวก็สามารถทำเงินให้กับชาวบ้านได้ง่ายๆ เพียงแค่ขยันและไม่แพนิกมากจนเกินไป แค่นี้เราก็จะผ่านช่วงที่เลวร้ายไปได้แน่นอนค่ะ

 

อื่นๆ

เมนู