ข้าพเจ้า นางสาว ประภัทรษา จันทร์สระบัว ประเภท บัณฑิตจบใหม่ ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ หลักสูตรโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่หมู่บ้านในตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อสำรวจสภาพชุมชนและเก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของชุมชน

 

                 ในครั้งนี้ข้าพเจ้าได้นำเรื่องราวของ “บักแงว” มาฝากกัน คอแลนคอแลน ชื่อสามัญ Korlanคอแลน ชื่อวิทยาศาสตร์ คอแลน มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า คอลัง กะเบน สังเครียดขอน (ภาคใต้), มะแงว มะแงะ หมักงาน บักแงว หมักแวว หมักแงว หมากแงว (ภาคตะวันออก), ลิ้นจี่ป่า (ภาคตันออกเฉียงใต้) เป็นต้น ผลไม้ชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับลิ้นจี่ ลำไย เงาะ มามอนซีโยคอแลน เป็นผลไม้เมืองร้อน ลักษณะคล้ายกับลิ้นจี่แต่เนื้อด้านในจะคล้ายกับเงาะ เนื้อมีรสเปรี้ยว ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกเรียบ มีสีน้ำตาลคล้ำ เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างทึบ ออกดอกราวเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลสุกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม

 

   

 

ในปัจจุบันคอแลนเป็นผลไม้ที่หารับประทานได้ยากและใกล้จะสูญพันธุ์ เพราะไม่ค่อยมีคนปลูก เนื่องจากไม่เป็นที่นิยมในการรับประทานเท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะมันมีรสเปรี้ยว แต่ภายหลังเกษตรกรก็ได้หันมาปลูกคอแลนที่มีรสหวานและลูกใหญ่ขึ้นมาทดแทนพันธุ์เดิม

สรรพคุณของคอแลน

  1. ช่วยทำให้ชุ่มคอ
  2. ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และเพิ่มพลังงาน
  3. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มันจึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  4. ช่วยเสริมสร้างสมาธิ แก้ปัญหาสมาธิสั้น
  5. ช่วยลดความเครียด
  6. ช่วยในการย่อยอาหาร
  7. ใช้เป็นยาระบาย
  8. ช่วยต่อสู้กับเชื้อหวัดและไวรัสไข้หวัดใหญ่

ประโยชน์ของคอแลน

ผลแก่ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ มีรสหวานอมเปรี้ยว

 

สำหรับ “บักแงว” หรือลิ้นจี่อีสาน เปลือกของบักแงวมีความคล้ายกับลิ้นจี่ ชาวอีสานจึงเรียกว่า “ลิ้นจี่อีสาน” บางต้นมีรสชาติที่หวานและบางต้นก็มีรสเปรี้ยว เป็นผลไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ทางภาคอีสาน เป็นไม้ที่ออกผลในช่วงฤดูฝน หนึ่งปีออกผลครั้งเดียว ชาวบ้านนิยมนำมาทานเนื่องจากมีรสเปรี้ยวอมหวานรสจัดจ้าน บางคนก็นำไปยำใส่น้ำปลา ปรุงรสด้วยน้ำตาล พริกป่น มีรสชาติที่อร่อยมากสำหรับคนที่ชอบทาน ในปัจจุบันนี้หาทานค่อนข้างยาก และมีราคาที่ค่อนข้างสูงจากแต่ก่อนมาก สำหรับที่โพสต์ขายกันบนโลกโซเชียลมีราคาขายถึง 50-100 บาท/กิโลกรัม

สูตรยำบักแงว :

น้ำปลา

น้ำตาลทราย

น้ำตาลปี๊บ

น้ำปลาร้าขวดสำเร็จรูปตามท้องตลาดทั่วไป

ข้าวคั่ว

ผงชูรส

พริกป่น

// ใส่เครื่องปรุงทุกอย่างลงในชามแล้วคนให้เข้ากัน นำบักแงวลงไปคลุกๆ ชิม ปรุงรสเพิ่มเติมตามชอบ ท่านใดไม่ชอบปลาร้า ก็ลองเปลี่ยนเป็นกะปิได้นะคะ

 

                             

 

อื่นๆ

เมนู