ข้าพเจ้า นางสาวนฤมล วันทา ประเภทบัณฑิตจบใหม่

หลักสูตร: โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับ ทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ณ ตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ ต. จันทบเพชร อ. บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้เพื่อพัฒนาตำบลสู่ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเพื่อให้มีรากฐานที่ดียิ่งขึ้น

สีย้อมผ้าที่ได้จากธรรมชาติโดยการนำส่วนต่าง ๆ ของพืช เช่น ดอก ผล ราก เปลือก แกน มาต้มสกัดเป็นสีย้อม ส่วนมากชาวตำบลจันทบเพชรจะนำต้นไม้หรือวัสดุต่างๆที่หาได้ง่ายจากในท้องถิ่นมาย้อมสีผ้า เช่น ต้นมะม่วง ส่วนที่ให้สีคือ ส่วนเปลือกต้น สีที่ได้คือ สีน้ำตาลอ่อนหรือสีเหลืองอ่อน,ต้นขี้เหล็ก ส่วนที่ให้สีคือ ใบ สีที่ได้คือ สีเหลือง สีเหลืองอมเขียวหรือสีน้ำตาลเขียว,ต้นกล้วย ส่วนที่ให้สีคือ เหง้า สีที่ได้คือ สีชมพูอ่อน สีเทา,ต้นยอ ส่วนที่ให้สีคือ ราก เปลือกต้นและใบ สีที่ได้คือ สีเหลืองอ่อนหรือสีเขียว,ต้นยูคาลิปตัส ส่วนที่ให้สีคือ เปลือกต้น สีที่ได้คือ สีน้ำตาลเหลือง ,ต้นมะพร้าว ส่วนที่ให้สีคือ เปลือกมะพร้าว สีที่ได้คือ สีแดงส้ม,ต้นสาบเสือ ส่วนที่ให้สีคือ ใบ สีที่ได้คือ สีเขียนอ่อน,ต้นหมาก ส่วนที่ให้สีคือ เปลือกหมาก สีที่ได้คือ สีน้ำตาล,ต้นอัญชัน ส่วนที่ให้สีคือ ดอก สีที่ได้คือ สีฟ้า สีน้ำเงินและต้นมะกรูด ส่วนที่ให้สีคือ ใบ สีที่ได้คือ เขียวขี้ม้าอ่อน ซึ่งต้นไม้ทั้งหมดที่กล่าวมาชาวตำบลจันทบเพชรได้นำมาย้อมและได้สีตามต้องการ

กระบวนการย้อมผ้า

ขั้นตอนการย้อม ต้องทำความสะอาดฝ้าย ด้าย ไหมให้สะอาดก่อนทำการย้อม จากนั้นเตรียมน้ำย้อมสีและนำเปลือกไม้ที่ให้สีธรรมชาติมาทำความสะอาด หลังจากนั้นทำการสับ หั่น แล้วใส่ลงไปในหม้อน้ำที่เตรียมไว้ แล้วนำไปต้มให้สีออกมา นำน้ำที่ย้อมมาตั้งไว้ให้เย็นแล้วใส่สารส้มให้ละลายในน้ำเพื่อให้สีติดดี จากนั้นนำไปต้มอีกครั้งเพื่อทำการย้อมสี แล้วพลิกไปมาให้สีติดสม่ำเสมอ ตามที่เราต้องการ

ปัญหาที่เกิดจากการย้อมผ้า

    1. หลังจากย้อมสีเสร็จแล้วนำไปตากแดดทำให้สีจางลง
    2. วัตถุดิบที่ใช้มีปริมาณจำกัด จึงทำให้การย้อมสีไม่เป็นไปตามที่ต้องการ
    3. พืชบางชนิดให้สีไม่ตรงตามที่เราต้องการจึงทำให้ต้องไปใช้สีสารเคมีมาย้อม

 

 

      

อื่นๆ

เมนู