ข้าพเจ้านายธเนษฐ วันทา ประเภทนักศึกษา
หลักสูตร: โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ข้าพเจ้าได้สังเกตอาการของผู้ที่ฉีดวัคซีนผสม (Sinovac+Astrazeneca) โดยมีอาการดังต่อไปนี้
วัคซีนตัวที่ 1 Sinovac (ซิโนแวค) หลังจากฉีดเสร็จ 30 นาที จะมีอาการปวดแขนด้านที่ฉีดวัคซีน รู้สึกง่วงนอน อ่อนเพลีย และหิวมีความอยากกินนู่นกินนี่อยู่ตลอดเวลา
นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า วัคซีนโควิด 19 ของซิโนแวคเป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีชื่อว่า “โคโรนาแวค” (CoronaVac) วัคซีนตัวนี้ทำงานโดยการเหนี่ยวนำระบบภูมิคุ้มกันร่างกายมนุษย์ให้สร้างแอนติบอดีต้านโควิด 19 โดยแอนติบอดีจะยึดติดกับโปรตีนบางส่วนของไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ร่างกาย วัคซีนเชื้อตายเป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมที่ประสบความสำเร็จในการป้องกันโรค และสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสได้ วัคซีนดังกล่าวได้มีการศึกษาในคนระยะที่ 1, 2 และ 3 ในประเทศบราซิล ตุรกี อินโดนีเซีย และชิลีแล้ว มีการรายงานผลว่าวัคซีนมีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโควิด-19
วัคซีนตัวที่ 2 Astrazeneca (แอสตร้าเซเนกา) หลังจากฉีดเสร็จ 30 นาที มีอาการปวดตัว หลังจากผ่านไป 1 ชม. มีอาการไข้ ปวดหัว และไม่มีแรงอ่อนเพลีย
องค์การอนามัยโลกได้ขึ้นทะเบียนวัคซีน AstraZeneca/Oxford เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ฉุกเฉิน โดยเป็นวัคซีนป้องกันเชื้อโคโรนาไวรัสที่คิดค้นร่วมกันระหว่างบริษัท AstraZeneca และมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด (Oxford University) ด้วยการดัดแปลงพันธุกรรมใส่โปรตีนโคโรนาไวรัสในอะดีโนไวรัส (Adenovirus) ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันหลังฉีด วัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) เป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เอกสารกำกับยาระบุข้อบ่งใช้สำหรับฉีดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19)
การเตรียมความพร้อมเมื่อจะต้องฉีดวัคซีน
- เตรียมร่างกายต้องแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ไม่ควรรับประทานยาลดไข้ หรือยาแก้ปวดก่อนเข้ารับวัคซีนโควิด เพราะยาอาจไปกดภาวะการอักเสบ ทำให้การตอบสนองของวัคซีนลดลง
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว หากรับประทานยาเพื่อควบคุมโรคควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีน
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ควบคุมได้ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ไม่ควรหยุดยาเองเพื่อฉีดวัคซีน แต่ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ก่อนทุกครั้ง
- ผู้ป่วยกลุ่มโรคเลือดออกง่าย ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีน เพราะอาจต้องใช้เวลากดแผลบริเวณที่ฉีดวัคซีนนานขึ้น และหลังฉีดยังเสี่ยงต่อการห้อเลือด หรือมีจ้ำเลือดเกิดขึ้น
- หากรับประทานยากดภูมิต้านทาน หรือยาสำหรับโรคเรื้อรังอื่นๆ ควรแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง
- หากมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นมากขึ้นเรื่อยๆ แนะนำให้กลับไปหาแพทย์ในโรงพยาบาลที่ทำการฉีดวัคซีน หรือไปพบแพทย์ที่ใกล้ที่สุด หากมีอาการรุนแรง
ภาพประกอบบทความการฉีดวัคซีนที่อำเภอบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์