การระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) พบในประเทศไทย เมื่อต้นเดือน มกราคม 2563 โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยยืนยันรายแรกนอกประเทศจีน จากนั้น เริ่มมีการเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจากประเทศจีนในเดือนกุมภาพันธ์ ยังพบผู้ป่วยจำนวนน้อย ยืนยันประมาณ 35 ราย ต่อมาพบว่ามีผู้ป่วยมากขึ้น ในกลางเดือนมีนาคม โดยเกิดการแพร่เชื้อเป็นกลุ่มใหญ่ที่พบผู้ป่วยมาก จากสนามมวยลุมพินี และสถานบันเทิงจากย่านทองหล่อ จากนั้น 1 สัปดาห์ต่อมาในประเทศพบสถานการณ์ผู้ป่วยยืนยันเกิน 100 คนต่อวัน ทำให้รัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ประกาศห้ามออกนอกเคหะสถานยามวิกาล ตั้งแต่ 3 เมษายน 2563 เป็นต้นมา จากการที่รัฐบาลประกาศการสั่งปิดธุรกิจ ห้างร้าน ส่งเสริมให้ประชาชนอยู่บ้าน ห้ามการเดินทางเข้าประเทศทางอากาศ และลดการเดินทางระหว่างเมือง และเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเพิ่มศักยภาพการบริการทางการแพทย์ให้กับสถานบริการภาครัฐในระดับต่างๆ ทำให้สถานการณ์การระบาดโรคโควิด-19 ในประเทศไทย มีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงปลายเดือน เมษายน 2563 นั้น โดยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่ำกว่า 10 คนในปลายเดือนเมษายน 2563
ต่อมาได้เกิดการระบาดอีกครั้งที่ตลาดค้ากุ้งจังวัดสมุทรสาคร ซึ่งสาเหตุของการระบาดเริ่มจากแม่ค้าขายกุ้งวัย 67 ปี ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่และเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลสมุทรสาคร เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 ส่งผลทำให้มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นและกระจายไปทั่วประเทศใน 27 จังหวัด และทางภาครัฐได้มีมาตราการรออกตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในหลายพื้นที่ในบริเวณจังหวัดสมุทรสาคร จนทำให้ยอดผู้ติดเชื้อมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่อง ต่อมาได้เกิดการระบาดใหม่อีกครั้งในช่วง ต้นเดือนเมษายน 2564 และมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกทั้งรอบนี้ได้เกิดคลัสเตอร์ใหม่ในหลายพื้นที่ของจังหวัดกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล การระบาดรอบนี้หนักกว่า 2 รอบที่ผ่านมาเพราะการระบาดรอบนี้ ผู้ติดเชื้อได้กระจายออกไปยังต่างจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ และระบาดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ทางภาครัฐจะมีนโยบาย ฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในประเทศแต่ก็ไม่สามารถยับยั้งการระบาดได้ อีกทั้งสถานการณ์การระบาดในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ทางภาครัฐได้มีนโยบายประกาศล็อคดาวน์พื้นที่ในบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 6 จังหวัด โดยหวังว่าจะสามารถลดการแพร่ระบาดของเชื้อลงได้ ซึ่งจังหวัดบุรีรัมย์ในช่วงเดือนพฤษภาคม พบว่าสถานการณ์การระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส(โควิด-19) มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง ทางจังหวัดจึงได้มีมาตราการป้องกันกันแพร่ระบาดโดยการรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ออกมารับการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 และมีมาตราการกักตัวผู้ที่เดินทางมาจากจังหวัดที่มีความเสี่ยงอย่างน้อย 14 วัน และเฝ้ารับการตรวจหาเชื้อทุก 7 วัน