ข้าพเจ้านางสาวศิริมา รักษาเดช ประเภทประชาชน
หลักสูตร: โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานกับ ทีมงานและอาจารย์ประจำหลักสูตร
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ณ ตำบล จันทบเพชร อำเภอ บ้านกรวด จังหวัด บุรีรัมย์
ข้าพเจ้าและทีมงานได้ลงพื้นที่ ต. จันทบเพชร อ. บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนำข้อมูลที่ได้มาใช้เพื่อพัฒนาตำบลสู่ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวเพื่อให้มีรากฐานที่ดียิ่งขึ้น
สำหรับโรคเกิดใหม่ เป็นเรื่องความรู้ใหม่ ที่ต้องเรียนรู้อีกมาก เมื่อมีการระบาด จะมีผลกระทบทางสังคมและจิตใจมาก
กิจกรรมอาษาเพื่อสังคม
เห็นได้ชัดตั้งแต่เมื่อสมัยโรค HIV เข้ามาสู่ประเทศไทยใหม่ ๆ ใครติดเชื้อ HIV จะมีผลกระทบทางจิตใจ และแทบจะอยู่ในสังคมไม่ได้ ทำนองเดียวกัน ขณะนี้โรค โควิด 19 ก็เช่นเดียวกัน ทุกคนหวาดกลัว และมีผลกระทบทางสังคมค่อนข้างรุนแรง รวมทั้งจิตใจด้วย ไม่มีใครอยากเป็นแน่นอน ผู้ป่วย จะถูกมองว่า เป็นบุคคลที่ไม่ต้องการ ทั้งที่ความจริงไม่มีใครอยากป่วย สิ่งที่จะกระทบมาก เมื่อผู้ป่วยหายป่วยแล้ว จะกลับเข้ามาอยู่ในสังคมได้อย่างไร
เมื่อเป็นเช่นนี้ มีผู้ป่วยบางคน อาจไม่อยากไปหาหมอ หรือแสดงตน เพราะกลัวถูกรังเกียจ เราต้องแยกเรื่องให้ออก การไม่บอกความจริงก็เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ก็ควรจะต้องได้รับการลงโทษ กฎหมายโรคติดต่ออันตราย ก็มีอยู่แล้ว แต่บางครั้งก็มีเหตุผล ที่อาจจะเป็นวงจร ด้วยความน่ากลัวของโรค ที่ไม่อยากให้ใครรู้ ผู้ป่วยอาจจะคิดว่าไม่เป็นโควิด 19 และไม่บอกความจริง ถ้าบอก ก็จะถูกตรวจมากมาย รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น เป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าทางรัฐบาลจะให้เบิกค่าตรวจเชื้อได้ ตามสิทธิ์ แต่เมื่อเข้าโรงพยาบาลเอกชน เพื่อความสะดวก ค่าใช้จ่ายด้านอื่น ๆก็จะเพิ่มเป็นจำนวนมาก ชุดป้องกันทางการแพทย์ อุปกรณ์ของเครื่องใช้ ดังที่เห็นในสื่อออนไลน์ สิ่งที่ไม่ถูกต้องจะต้องถูกแก้ไข ให้ทุกคนซื่อสัตย์ มีบทลงโทษตามกฎหมายเฉพาะบุคคลผลกระทบทางจิตใจและสังคม ของโรค โควิด 19 สังคมไม่ควรใช้ความรุนแรง ดังเห็นได้จากสื่อสังคม ที่รุมประนาม ด้วยถ้อยคำวาจารุนแรง บุคคลข้างเคียง รวมทั้งเด็กติดเชื้อ โควิด 19 จะถูกคุกคามทางจิตใจและสังคม (bully)
ทุกคนจะต้องเข้าใจและเรียนรู้ และอาจจะมีหน่วยงาน โดยเฉพาะทางด้านจิตวิทยา เข้ามาช่วยเหลือ โดยเฉพาะเด็กนักเรียน เพื่อลดผลกระทบทางสังคมและจิตใจ อิทธิพลของสื่อสังคม กับการคุกคามทางจิตใจ และสังคม ในปัจจุบันค่อนข้างรุนแรง เราคงต้องหันหน้ามาช่วยกัน ลดผลกระทบทางสังคมและจิตใจโรคโควิด 19 ยังคงอยู่กับเรา ไปอีกนานพอสมควร จนกว่าจะควบคุมโรคได้ หรือ มียา มีวัคซีนป้องกัน เพื่อความกลัวต่าง ๆ จะได้ลดน้อยลง
การแก้ปัญหาโรคอุบัติใหม่ จำต้องแก้ไขพร้อมกันทุกด้าน แก้ปัญหา และป้องกันโรคไปด้วยกัน รวมทั้งต้องช่วยกันลด ผลกระทบทางสังคมและจิตใจ เพื่อให้สังคมของเราเป็นสังคมที่น่าอยู่ และอยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุข
นอกจากปัญหาทางด้านสุขภาพ ที่เชื่อมโยงมาเศรษฐกิจ และมีผลกระทบเชื่อมโยงมาปัญหาสังคม กลุ่มเสี่ยงที่เป็นคนทำงานและต้องตกงาน ว่างงาน เพราะจะต้องประสบปัญหาหนักด้านการเงิน รวมถึงคนสูงวัยที่ต้องถูกให้อยู่ในพื้นที่จำกัด เช่น การอยู่บ้าน เพราะคำสั่งจำกัดการเคลื่อนไหวในช่วงวิกฤต บังคับใช้มาตรการ Social Distancing และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ต้องการให้ไวรัสแพร่กระจายลดลง แต่ก็ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนด้วย
ตู้ปันสุข
เมื่อมีการกักกันให้อยู่บ้าน ทำงานที่บ้าน เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ประกอบกับความกลัว จะมีผลทางจิตใจค่อนข้างมาก ในครั้งการระบาดของโรค MERS มีการศึกษาผลทางจิตใจ ในผู้สัมผัสโรค ก็จะพบมีอาการความเครียด (post traumatic stress) คือมีอาการ ตื่นตัว สะดุ้ง ตกใจ ไม่มีสมาธิ เครียดง่ายกับเรื่องธรรมดา
ผลกระทบทางด้านจิตใจ ความกลัว
ในยุคปัจจุบัน ประชาชนเข้าถึงสื่อต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะหลายคน ที่ถึงแม้จะไม่อยู่ในเหตุการณ์แต่การเสพสื่อ หรือรับรู้สื่ออย่างมาก จึงทำให้เหมือนอยู่ในเหตุการณ์ ผลที่เกิดขึ้น ก็จะเกิดความเครียด คล้ายกับป่วยเป็น post traumatic stress มีอาการนอนไม่หลับ หวาดกลัว ตื่นตัว สะดุ้ง ไม่มีสมาธิในการทำงาน เครียดง่าย
ผู้ที่มีอาการดังกล่าวในภาพรวม จะเป็นปัญหาต่อสุขภาพ และจะต้องให้ความสำคัญ มากกว่า โรคโควิด 19 ในขณะนี้เสียอีก ดังนั้นทางออก ที่เป็นไปได้ ถ้ารู้ตัวว่ามีอาการดังกล่าว ควรลดในการเสพสื่อ และควรเรียนรู้ แยกความจริงกับความเห็น ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ดูแลร่างกายให้แข็งแรงให้มีสติ ปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ตามคำแนะนำของทางสาธารณสุข และผู้ที่รู้จริงเท่านั้น
ในกลุ่มที่สูญเสียหน้าที่การงานและต้องประสบภาวะความเครียดด้านการเงิน เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้คนฆ่าตัวตาย ซึ่งปัจจุบัน รัฐได้ออกโครงการเยียวยาในด้านต่าง ๆ หลายที่มีครงการช่วยเหลือซึ่งกัน สนับสนุนอาหาร ที่อยู่ เพื่อความช่วยเหลือสำหรับผู้คนที่ได้รับผลกระทบ
ถ้ามองในแง่ดีบ้าง โรคโควิด 19 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศและสิ่งแวดล้อมไปในทางที่ดี ใน 2 เดือนหลังจากการระบาด มีการลดการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับบรรยากาศโลก อย่างมากมาย ตั้งแต่มีการปิดเมืองในประเทศจีน มีการลดการใช้ น้ำมัน และลดการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จนรอยรั่วจากโอโซนในชั้นบรรยากาศแถบขั้วโลกเริ่มปิดลง อีกทั้งมีการลดการสร้างไนตรัสออกไซด์ จากรถยนต์จำนวนมากซึ่งเป็นการลดภาวะโลกร้อน ให้กับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี
โรคโควิด 19 ยังช่วยปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน แต่ผลลบอีกด้านหนึ่ง คือ ขยะพลาสติก ที่จากการส่งสินค้าอุปโภค บริโภคสูงขึ้น ยังมีขยะที่เกิดขึ้นจากหน้ากากอนามัยและชุดที่ใช้ในการป้องกันโรค หรือที่เรียกว่า PPE หรือชุดหมี ที่มีการใช้กันมาก มาตรการการกำจัดขยะพลาสติก และกล่องโฟมที่ใช้ส่งอาหาร และตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะต้องมีแผนในการปฏิบัติการกำจัดขยะพลาสติกอย่างถูกต้องต่อไป ทุกอย่างมีสองด้านเสมอ เมื่อเกิดโรคระบาด ก็มีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในการลดโลกร้อนและสิ่งหนึ่งที่จะฝึกเรา คือฝึกให้เรารู้จักความพอเพียง
สังคมในโลกยุคโควิด-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของเราอย่างมาก การใช้เศรษฐกิจพอเพียง สร้างความอดทน ให้ประชากร อดทนอยู่บ้านได้ อดทนต่อความยากลำบาก ลดความฟุ่มเฟือย การทำให้ครอบครัวอบอุ่น เพราะทุกคนต้องอยู่บ้าน การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การจับมือ การทักทายด้วยการถอด จะมาเป็นยกมือไหว้ สร้างความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจต่อสู่กับโรคร้าย จับมือหันหน้าเข้าหากัน เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
สังคมสมัยใหม่มีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น มีการนำ AI มาใช้งานในด้านต่าง ๆ ระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ การดูแลผู้ป่วยใช้ Video call หรือประชุมออนไลน์ การใช้ เงินดิจิทัล
การระบาดของโรคโควิด 19 ยังทำให้ ผู้คนใส่ใจในสุขภาพ อนามัยมากขึ้น มีการป้องกันโรคมากขึ้น ทำให้โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคทางเดินอาหาร ลดลง