ข้าพเจ้านางสาววริทธิ์นันท์ เวชชศาสตร์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ วันนี้เราได้มีโอกาศพูดคุยกับคุณแม่ธนพรรณ ดูให้ดี อยู่บ้านเลขที่ 19 หมู่ที่ 10 ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เกี่ยวกับบังเกอร์หลบภัย

ซึ่งเห็นว่าบ้านแม่ธนพรรณ ดูให้ดี ได้ทำบังเกอร์หลบภัยไว้ที่บ้านจึงได้สอบถามว่าเหตุใดจึงได้ทำบังเกอร์หลบภัยไว้ในบ้าน แม่ธนพรรณท่านก็เล่าว่า เนื่องจากว่ามีเหตุปะทะกันระหว่างทหารไทย กับฝ่ายกัมพูชา เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2554 และได้มีลูกกระสุนปืนใหญ่ ลูกจรวด BM-21 ฝ่ายทหารกัมพูชา เข้ามาตกในหมู่บ้าน วัด และโรงเรียนกว่า 40 ลูก และแรงอัดจากกระสุนปืนใหญ่ทำให้กระจกโรงเรียนแตกเสียหาย อีกทั้งยังมีบ้านเรือนราษฎรในพื้นที่ตำบลสายตะกูถูกระเบิดตกใส่เสียหาย กว่า 6 หลังคาเรือน และมีผู้บาดเจ็บ 2 ราย ส่งผลให้ทั้งครู ผู้ปกครอง เด็กนักเรียนและประชาชนที่อยู่บริเวณนั้น ยังเกิดความหวาดผวาต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น และเกรงว่าจะเกิดการสู้รบซ้ำรอยขึ้นอีก ทางอำเภอจึงได้แนะนำเสนอให้ทางวัด โรงเรียน ศูนย์ราชการและบ้านเรือนต่างๆที่ได้รับผลกระทบให้สร้างบังเกอร์หลบภัยไว้ก่อน เมื่อมีภัยจะได้ใช้ในยามที่ภัยมาถึงและทางอำเภอแนะนำให้สร้างบังเกอร์หลบภัยให้อยู่ใกล้ๆกับถนนเพราะจะได้สามารถช่วยเหลือได้ง่ายกว่าที่ไปสร้างห่างจากถนน แต่ก็มีประชากรส่วนหนึ่งได้ย้ายที่อยู่ไปพักอาศัยที่อื่นอยู่ชั่วคราวเพราะเกรงกลัวจะเกิดการปะทะขึ้นมาอีกครั้งจึงกลัวว่าจะไม่ปลอดภัย ส่วนบังเกอร์หลบภัยนั้นก็จะมี 2 ประเภทตามที่แม่ธรพรรณได้บอกเล่านั้น คือแบบปูนและแบบไม้ แบบปูนจะแข็งแรงกว่าแบบไม้แต่ก็มีราคาค่อนข้างสูงในสมัยนั้น บางแห่งจึงได้ทำแบบไม้เพราะว่ามีราคาค่อนข้างถูกกว่าและหาได้ง่ายกว่าแต่ก็ไม่แข็งแรงเท่ากับปูน                     

แต่ณ ปัจจุบันนี้บังเกอร์หลบภัยมีให้เห็นได้เป็นบางส่วน เพราะว่าได้มีการชำรุดเสียหายไปบางส่วนและตามสภาพอายุการใช้งาน จึงทำให้เห็นอยู่บ้างอาทิเช่น ที่โรงเรียน สถานีตำรวจ  บ้านเรือนบางหลังคาเรือน

อื่นๆ

เมนู