ข้าพเจ้านางสาวปาริชาติ ดิบประโคน ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ จะนำผลการวิเคราห์ข้อมูลโดยรวมของตำบลสายตะกูมาให้ทราบก่อนอื่นเรามารู้จัก SROI ว่ามีความหมายว่าอย่างไรกัน
การประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) เป็นวิธีการประเมินที่ช่วยองค์กรในการทำความเข้าใจ และหาขนาดของมูลค่าทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจที่องค์กรตั้งขึ้นเพื่อผลลัพธ์ทางสังคม แนวคิด SROI นั้นประยุกต์มาจากแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม(social accounting) และการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ (cost-benefit analysis) ซึ่งเป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิมที่เป็นการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินจากการลงทุน เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพทางการเงินทั่วไปเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการลงทุนผ่านอัตราส่วนหรือเปอร์เซ็นต์ ผลตอบแทนจากการลงทุนในเชิงบวกบ่งชี้ว่ามีกำไรสุทธิทางการเงินที่เกิดขึ้นจริงหรือคาดหวังจากการลงทุนเท่าไร ไม่ได้คำนึงถึงในการรวมผลตอบแทนทางสังคมอื่นๆ เช่น สังคมสิ่งแวดล้อม หรือค่านิยมทางวัฒนธรรมที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับผู้มีส่วนได้เสียที่แตกต่างกัน
SROI เป็นการประเมินที่ครอบคลุมมูลค่าทางสังคมทั้งผลลัพธ์ที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน เป็นวิธีการวัดมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลประโยชน์ทางสังคมด้วยการนำผลตอบแทนด้านสังคมในเรื่องต่างๆ ซึ่งเป็นตัวแปรเชิงคุณภาพที่องค์กรได้สร้างขึ้นมาแปลงค่าเป็นตัวเงิน(monetized value) โดยใช้การวัดตัวเงินแบบคิดลด (discounted monetized measurement) ของมูลค่าทางสังคมที่องค์กรได้สร้างขึ้น และคำนวณหาเปรียบเทียบกับมูลค่าทางการเงินของต้นทุนที่ใช้ไปในการดำเนินกิจการขององค์กร เพื่อดูว่ากิจการสร้างผลลัพธ์ทางสังคมคิดเป็นมูลค่าเท่าไรต่อเงิน 1 บาทที่ลงทุนไป เพื่อช่วยในการประเมินว่าการลงทุนนั้นๆ มีความคุ้มค่าหรือไม่
ตารางแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูล SROI โดยรวมของตำบลสายตะกู ดังนี้
สำรวจ | ความสำคัญ | แปลผล | การเปลี่ยนแปลง | แปลผล |
ค่าเฉลี่ย | ค่าเฉลี่ย | |||
1.ตำบลเป้าหมาย |
7.527 |
มาก | 3.484 | ปานกลาง |
2.ลูกจ้างโครงการ | 8.356 | มาก | 4.139 | มาก |
3.ครอบครัวลูกจ้างโครงการ | 7.094 | มาก | 3.429 | ปานกลาง |
4.ชุมชนภายใน | 8.515 | มาก | 3.812 | มาก |
5.ชุมชนภายนอก | 5.500 | ปานกลาง | 1.933 | น้อย |
8.ผู้แทนตำบล | 7.575 | มาก | 3.274 | ปานกลาง |
9.หน่วยงานภาครัฐ | 7.575 | มาก | 4.100 | มาก |
10.หน่วยงาน อปท. | 7.375 | มาก | 3.250 | ปานกลาง |
11.เอกชนในพื้นที่ | 7.750 | มาก | 3.375 | มาก |
ภาพโดยรวม |
7.474 | มาก | 3.422 | ปานกลาง |
จากตารางพบว่าภาพโดยรวมของตำบลสายตะกูมีความสำคัญ(ค่าเฉลี่ย=7.474) อยู่ในระดับมาก และมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (ค่าเฉลี่ย=3.422) อยู่ในระดับปานกลาง
และในครั้งต่อไปข้าพเจ้าจะนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในแต่ละที่ที่ทำการสำรวจมาเผยแพร่ในครั้งถัดไป