ข้าพเจ้านางสาววริทธิ์นันท์ เวชชศาสตร์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ดิฉันได้มีโอกาสเยี่ยมชมสวน9-10เศรษฐกิจพอเพียงของคุณธนกฤษฎิ์ พงษ์เกษมชูวงศ์ บ้านสายโท11เหนือ ต.สายตะกู อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ ได้เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการน้ำ หนึ่งในปราชญ์ชาวบ้านในด้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีหัวใจหลักสำคัญคือการบริหารจัดการดินและน้ำ โดยเฉพาะน้ำ มีการบริหารจัดการอยู่ 2 แบบคือ น้ำผิวดิน และน้ำใต้ดิน

​1 น้ำผิวดินคือ แหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อฝนตกลงมาแล้วดินนั้นไม่สามารถดูดซับน้ำได้ทั้งหมด น้ำก็จะไหลไปรวมกันในที่ที่เป็นบ่อ หรือแอ่ง เช่น ห้วย หนอง คลอง บึง เป็นต้น
​2 น้ำใต้ดินคือ การสะสมน้ำเป็นเวลานาน น้ำจะซึมผ่านช่องโหว่ในดินและขังอยู่ตามซอกหิน หรือแอ่งใต้พื้นดิน แหล่งน้ำที่เรารู้จักกันยกตัวอย่างเช่น น้ำบาดาล เป็นต้น

​น้ำบนดินในพื้นที่สววน9-10นั้น จะมีการขุดบ่อน้ำจากที่ต่ำไปที่สูง หลายบ่อ หลักการจัดการน้ำก็คือ น้ำที่อยู่ในพื้นที่สูงจะมีการปล่อยลงมายังที่ต่ำโดยใช้ทฤษฎีแรงโน้มถ่วง เมื่อน้ำในบ่อข้างล่างหรือบ่สุดท้ายมีปริมาณมากๆ ก็จะสูบน้ำจากบ่อสุดท้ายขึ้นมายังบ่อแรกหรือบ่อบนสุด โดยผ่านระบบโซล่าเซลล์ในการใช้งานเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะไหลเวียนอยู่แบบนี้ตลอด ภายในบ่อยังมีการขุดบ่อซ้อนบ่อลึกลงไปเพื่อให้น้ำใต้ดินได้ผุดออกมา ทำให้มีน้ำใช้ตลอดปีอีกกด้วย
​น้ำใต้ดินในพื้นที่สวน9-10 ประกอบไปด้วยน้ำบาล และธนาคารน้ำ น้ำบาลดาลนั้น คุณกฤษฎิ์ ได้ใช้ระบบโซล่าเซลล์ ในการควบคุมการใช้งานปั๊มน้ำเพื่อสูบน้ำขึ้นมากักเก็บในแทงค์น้ำบนหอคอย เพื่อใช้ด้านอุปโภคบริโภคภายในสวน และใช้แจกจ่ายให้แก่วัด หรือประชาชนที่รับผลกระทบจากภัยแล้งอีกด้วย

ธนาคารน้ำ คือ การสร้างแหล่งน้ำกักเก็บน้ำไว้เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยอาศัยการดูดซึมของหินใต้ผิวดิน โดยจะแบ่งออกเป็น 2ประเภท ได้แก่
​1 ธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิด คือ หลักการขุดบ่อ เพื่อส่งน้ำไปเก็บไว้ที่ชั้นน้ำบบาดาล ขนาดความลึกขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ โดยจะทำการขุดบ่อให้ปถึงชั้นหินออุ้มน้ำ จากนั้นใส่ยางรถกันการพังทลายของขอบบ่อ และใส่เศษปูน ท่อนไม้ ขวดพลาสติก เติมน้ำลงไปให้มีอัตราส่วน 1 ใน 3 และนำท่อ PVC วางตรงกลางบ่อ เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ และคุมด้วยผ้าไนล่อน ปิดทับด้วยหินละเอียดอีกที เพื่อกรองไม่ให้เศษดิน หรือขยะเข้าไปอุดตันในบ่อ
​2 ธนาคารน้ำใต้ดินแบบเปิด เป็นการเปิดผิวดินเพื่อสามารถใช้น้ำในระบบผิวดินได้เลย โดยมีการขุดบ่อขนาดใหญ่ที่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของพื้นที่ โดยเริ่มจากเจาะพื้นให้เป็นบ่อ 3 หลุมให้ลึกถึงชั้นหินอุ้มนน้ำ เพื่อให้น้ำไหลลงชั้นหินอุ้มน้ำใด้ดี และมีช่องสำหรับถ่ายเทอากาศ โดยน้ำที่กักเก็บมาจากหลายแหล่ง เช่น ฝน หรือน้ำจากธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด ซึ่งเมื่อน้ำถูกเติมลงชั้นหินอุ้มน้ำมากพอ น้ำก็จะเอ่อล้นออกมาที่บ่อโดยอัตโนมัติ เราก็จะสามารถสูบน้ำจากบ่อไปใช้ได้ทันที วิธีนี้ช่วยให้ไม่ต้องขุดเจาะหาแหล่งน้ำ หรือสูบน้ำจากที่ไกลๆ ทำให้ประหยัดพลังงาน และลดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

 

 

อื่นๆ

เมนู