ข้าพเจ้านางสาวอรทัย ลูกแก้ว ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ เนื่องจาก ในวันที่ 11 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมาคณะอาจารย์ที่รับผิดชอบพื้นที่ตำบลสายตะกู ได้ลงพื้นที่เพื่อมาติดตามการทำงานของสมาชิกตำบลสายตะกู และได้มีการรับประทานอาหารร่วมกัน ข้าพเจ้าจึงได้ทำการทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร โดยได้การทำการทดสอบสารบอแร็กซ์จากเนื้อหมู และทดสอบสารฟอร์มาลีนจากเห็ด โดยมีวิธีการดังนี้

วิธีการทดสอบสารบอแร็กซ์

1.หั่นเนื้อหมู เป็นชิ้นเล็กๆ

2.ตักเนื้อหมู 1 ช้อน ลงในถ้วย

3.เติมน้ำยาทดสอบบอแรกซ์ลงในอาหารจนชุ่ม แล้วกวนให้เข้ากัน

4.จุ่มกระดาษขมิ้นให้เปียกครึ่งแผ่น

5.นำกระดาษขมิ้นที่จุ่มในอาหารที่เปียกวางบนจาน แล้วนำไปวางกลางแดด 10 นาที

6.ถ้ากระดาษมีสีส้มจนถึงแดง แสดงว่ามีสารบอแรกซ์ปนอยู่

 

วิธีการทดสอบสารฟอร์มาลีน

ชุดทดสอบฟอร์มาลีน

ชุดทดสอบสารฟอร์มาลีน

 

1. นำเห็ดแช่ในน้ำสะอาด

2. เทน้ำแช่อาหารที่สงสัยลงในขวดสารทดสอบที่ 1 ให้ได้ความสูงของของเหลวประมาณ 1 ใน 3 ของขวด ปิดฝาขวดเขย่าจนสารทดสอบในขวดละลายหมด

3.ถ่ายของเหลวจากขวด สารทดสอบที่ 1 ลงขวด สารทดสอบที่ 2 ปิดฝาขวดและเขย่าเล็กน้อย

4. ถ่ายของเหลวจากขวดสารทดสอบที่ 2 ลงขวดสารทดสอบที่ 3 แล้วรีบปิดฝาขวด แกว่งเบาๆ ให้ของเหลวเข้ากัน สังเกตุสีที่เกิดขึ้น

5.ถ้ามีสีเกิดขึ้นตั้งแต่ สีชมพูจนถึงสีแดง แสดงว่าน้ำมีฟอร์มาลีนผสมอยู่

 

เมื่อข้าพเจ้าทำการทำสอบแล้ว พบว่าผลการทดสอบสารบอแร็กซ์ในเนื้อหมู ทำให้กระดาษขมิ้นไม่เปลี่ยนสี แสดงว่าในเนื้อหมูที่นำมาทดสอบไม่มีสารบอแร็กซ์ผสมอยู่ และผลการทดสอบสารฟอร์มาลีนในเห็ด  ทำให้สารละลายใสไม่มีสี แสดงว่าเห็ดที่นำมาทดสอบไม่มีสารฟอร์มาลีน

อื่นๆ

เมนู