ข้าพเจ้านางสาววริทธิ์นันท์ เวชชศาสตร์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ บทความนี้จะมาพูดถึงการเลี้ยงด้วงสาคูเพื่อการจำหน่ายและบริโภคของนายพิพัฒน์ หนูประโคน(บ้านด้วงท่านชาย)บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 10 ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
ส่วนผสมที่เราต้องเตรียม
- มะพร้าวสับ 2 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล 5 ช้อนโต๊ะ
- มันสำปะหลังสับ 1 กิโลกรัมหรือน้ำหมักยิส 2 กิโลกรัม
- รำอ่อน ครึ่งกิโลกรัม
- อาหารหมู 3 ขีด ถึงครึ่งกิโลกรัม
- เปลือกมะพร้าวสด 4 ฝา
- กล้วยน้ำว้าสุก 2 ลูก
ถ้าใช้มันสดควรแช่น้ำก่อนผสม 1 คืน เพื่อคลายก๊าซ มันแห้งหรือมันบดตากแห้งควรแช่น้ำจนอิ่มตัวหรือ 2-3 วัน ระหว่างที่รอมันแห้งหรือมันบดอิ่มตัว เอาพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุมาขังรวมในกะละมังเปล่าปิดฝาให้สนิทเพื่อผสมพันธุ์กันและใส่เปลือกมะพร้าวสดกับกล้วยน้ำว้าสุก เพื่อเป็นที่วางไข่และเป็นอาหารของพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์
วิธีผสมอาหาร
นำมันสำปะหลัง อาหารหมู รำป่น กากน้ำตาล ผสมให้เข้ากันคลุกให้ละเอียดจนเป็นเนื้อเดียวกัน มะพร้าวสับ ใส่น้ำพอประมาณเพื่อให้มีช่องว่างในอาหารไม่แน่นจนเกินไป ลูกด้วงสาคูจะสามารถมุดลงไปใต้อาหารได้ คลุกให้เข้ากันทิ้งไว้ 30 นาที ให้ความร้อนจากอาหารหมูออกเนื้ออาหารที่ผสมเสร็จจะชุ่มน้ำ ปาดหน้าอาหารให้เรียบเสมอกันน้ำจะไม่สูงกว่าเนื้ออาหาร สังเกตพอเอามือไปใต้สุดของกะละมังจะไม่ร้อนเป็นอันใช่ได้ จากนั้นเอาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่เราขังรวมไว้มาใส่(จำนวน 5 คู่) พร้อมกล้วยน้ำว้าสุก 2-3 ลูก ปิดฝาหาของหนักมาทับกันพ่อพันธุ์แม่พันธุ์หนี คอยดูหน้าอาหารว่าแห้งไหม ถ้าแห้งคอยพรมน้ำให้แฉะไว้ และคอยหมั่นดูว่ามดขึ้นอาหารไหม ถ้าเจอลูกแมงหลังแข็งในกะละมังให้จับออก 15-20วัน ก็สามารถจับตัวหนอนด้วงสาคูออกจำหน่ายหรือบริโภคได้
พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ *ด้วงตัวเมียจะมีลักษณะปลายงวงยาวเรียว /ด้วงสาคูตัวผู้จะมีลักษณะมีแผงขนที่ปลายงวง งวงสั้น*
ขั้นตอนการผสมอาหาร
ขั้นตอนการเลือกด้วงสาคูเพื่อจำหน่ายหรือบริโภค
ด้วงสาคูแปรรูป
ด้วงสาคูสามารถนำมาแปรรูปได้หลายอย่างเช่นด้วงสาคูแช่ในน้ำแร่ แกงด้วงสาคูใส่เห็ดเข็มทอง ยำด้วงสาคู ด้วงสาคูราดพริก ด้วงสาคูคั่วเกลือ เป็นต้นและประโยชน์จากด้วงสาคูมีโปรโปรตีนสูงถึง 17-19% ซึ่งโปรตีนจะช่วยสร้างความเจริญเติบโต ของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยพัฒนาระบบประสาทและสมอง และ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ไขมัน ไขมันเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานได้สูงสุด ในหนอน ประกอบด้วยไขมันถึง 7-14%ทีเดียว ฟอสฟอรัส หนอนประกอบด้วยฟอสฟอรัสถึง 0.10-0.25%
*การลดกลิ่นเนื่องจากว่าอาหารเป็นของหมัก อาจมีกลิ่นเราสามารถลดกลิ่นโดยใช้น้ำหมัก EM หรือน้ำหมักจุลินทรีย์ทั่วไปผสมกับน้ำแล้วฉีดพ่นให้ทั่วกะละมัง ศัตรูของลูกด้วงคือ มด แมงหลังแข็ง หนอนแม่โจ้*
ที่มา; บ้านด้วงท่านชาย