ข้าพเจ้านางสาววริทธิ์นันท์ เวชชศาสตร์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ บทความเดือนนี้ข้าพเจ้าจะพูดถึงความเป็นมาของห้วยไซตะกู ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
ห้วยไซตะกู ตั้งชื่อมาจากชุมชนสายตะกู เนื่องจากเมื่อก่อนมีต้นตะกูจำนวนมาก คนที่มาตั้งชุมชุนก็เลยตั้งชื่อชุมชนสายตะกู และก็มีห้วยไหลผ่าน2สาย สายที่1 คือห้วยลำชีไหลมาจากห้วยโอกรุของประเทศเขมร และสายที่ 2 คือไซตะกู ที่ไหลมาจากอ่างเก็บน้ำห้วยไซตะกูที่มี 2 อ่าง ในเขตชายแดนกัมพูชา ปกติส่วนใหญ่น้ำจะไหลจากเหนือไปใต้ แต่ที่นี่น้ำจะไหลจากใต้ไปเหนือ ทั้งที่เขมรค่อนข้างต่ำกว่าเราอาจเป็นเพราะพื้นที่ตรงนี้ต่ำ เมื่อก่อนตำบลสายตะกูมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลปราสาท ยังไม่มีตำบลจันทบเพชร ทิศใต้ติดกับเขมร ทิศตะวันออกติดกับอำเภอพนมดงรัก(จ.สุรินทร์) ทิศเหนือติดกับตำบลโนนเจริญ และต่อมาแยกออกมาเป็นตำบลจันทบเพชร ห้วยส่วนใหญ่มาจากทางเขมร ห้วยไซตะกูจะไปบรรจบกับห้วยหนองแวงรอยต่อตำบลโนนเจริญ เมื่อก่อนห้วยธรรมชาติมีค่อนข้างจำนวนหลายสาย แต่ทุกวันนี้ได้มีประชาชนได้เข้าไปจับจองที่ทำกินและปรับแปลงที่ จนไม่เหลือเค้าเดิมแต่ก็มีบางที่ ที่ยังมีร่องรอยอยู่แต่จะเป็นห้วยที่ขาดจากห้วยแม่น้ำหลัก
ห้วยไซตะกูเดิมทีไม่ได้มีบริเวณเป็นที่น่าดึงดูดใจเท่าทุกวันนี้ แต่ได้มีชาวชุมชนสายตะกูได้ร่วมมือกันพัฒนาริมคลองนี้ให้เป็นที่น่าสนใจและเป็นแหล่งพักผ่อนให้กับชาวชุมชนสายตะกู และถือว่าห้วยไซตะกูเป็นแหล่งที่น่ามาพักผ่อนยามเย็นให้กับชาวต่างถิ่นที่ได้ผ่านมา ชมความร่มรื่นและดื่มด่ำกับบรรยากาศที่สบายๆและเป็นกันเองของชาวชุมชนสายตะกู