ข้าพเจ้านางสาววริทธิ์นันท์ เวชชศาสตร์ ประเภทบัณฑิตจบใหม่ ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลหมู่ที่ 10และหมู่ที่13 ณ ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564
ตามที่ข้าพเจ้าได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลประชากรตามบ้านเรือนต่างๆทั้งหมู่ที่ 10และหมู่ที่13 ได้สอบถามประชากรตามบ้านเรือนต่างๆซึ่งประชากรส่วนใหญ่จะนิยมการปลูกข้าวเป็นส่วนมาก การปลูกข้าว ส่วนใหญ่จะปลูกปีละครั้งซึ่งอาจทำให้มีรายได้ที่เข้ามานั้นไม่พอกับค่าใช้จ่ายในแต่ละวันได้
ข้าพเจ้าเห็นบ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 10 ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด ได้เลี้ยงด้วงงวงมะพร้าว(ด้วงสาคู)จึงเกิดความสนใจในการเลี้ยง เพราะการเลี้ยงด้วงสาคูไม่ค่อยเป็นที่นิยมสำหรับการเลี้ยงเท่าไร และได้สอบถามกับผู้ดูแลคุณยายกวน หนูประโคน คุณยายบอกว่าเลี้ยงง่าย ดูแลง่าย ที่นี่เลี้ยงมาได้ประมาณ 3-4 เดือนได้แล้ว การเลี้ยงก็ไม่ค่อยยุ่งอยากนัก แต่เราต้องใส่ใจการเลี้ยงด้วงสาคูให้มากๆ เพราะด้วงสาคูเขาจะไม่ชอบความสกปรกในโรงเรือน โรงเรือนจำเป็นจะต้องสะอาดอยู่เสมอถึงจะสามารถเลี้ยงด้วงสาคู ให้ออกมามีประสิทธิภาพและนำส่งออกจำหน่ายได้ ด้วงสาคูถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่สามารถทำรายได้ให้กับครัวเรือนได้ดีระดับหนึ่ง ถ้าเราสามารถรวมกลุ่มในชุมชนหรือตามหมู่บ้านทำการเลี้ยงด้วงสาคูได้ก็สามารถทำเป็นอาชีพเสริมและมีรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชนได้ในส่วนหนึ่ง
ด้วงงวงมะพร้าว(ด้วงสาคู) เจริญเติบโตในทุกระยะไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเนื่องจากเนื้อต้นลานและเนื้อต้นสาคู ที่เป็นอาหารของด้วงชนิดนี้ในธรรมชาติ ที่อาจทำให้น้ำย่อยของระบบย่อยอาหารของตัวหนอนพัฒนาได้ ใกล้เคียงกัน สอดคล้องกับที่ตัวหนอนทั้งสองกลุ่มลอกคราบได้ 10 ครั้งเท่ากัน แสดงว่าเนื้อต้นลานและเนื้อต้น สาคูมีคุณสมบัติไม่แตกต่างกัน แต่ถ้าเลี้ยงด้วยอาหารอย่างอื่นด้วงอาจเจริญเติบโตเท่ากันหรือไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับ ส่วนประกอบต่างๆ
ด้วงงวงมะพร้าว(ด้วงสาคู)ที่สามารถจำหน่ายได้
ศึกษาขั้นตอนการเลี้ยงด้วงงวงมะพร้าว(ด้วงสาคู)